This is an outdated version published on 2023-02-21. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของทีมหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศรัณรัตน์ ศิลปักษา โรงพยาบาลอาจสามารถ
  • ธารา รัตนอำนวยศิริ โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้พิการ, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทีมหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายอำเภออาจสามารถ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้พิการ ญาติ/ผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ทีมหมอครอบครัว ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 242 คน ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 - ธันวาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินความพึงพอใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน การวิจัยแบ่งเป็น ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและสถานการณ์ปัญหา คืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่าย และร่วมกันพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการ ระยะที่ 2 วางแผนและนำรูปแบบการไปปฏิบัติ และระยะที่ 3 ติดตามประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา 

ผลการวิจัย : 1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีความพิการกว่าร้อยละ 30 ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พิการเกิดจากผู้พิการส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ฐานะยากจน ไม่มีผู้ดูแล แพทย์ต้องประเมินความพิการทุกราย ไม่มีช่องทางด่วน ใช้เวลานาน และขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการในชุมชนประกอบด้วยขั้นตอนการออกหนังสือรับรองความพิการโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล และการมีช่องทางด่วนสำหรับผู้พิการ และ 3) หลังการพัฒนาพบว่าผู้พิการได้รับสวัสดิการทางสังคมเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขทุกราย 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ทีมหมอครอบครัวและภาคีเครือข่ายมีเป้าหมายร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการในชุมชนร่วมกันค้นหาผู้พิการและส่งต่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และได้รับสวัสดิการทางสังคม โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนทำให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และร่วมกันพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา, สาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(4):608-24.

อลงกรณ์ อรรคแสง. พัฒนาการการจัดโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยเปรียบต่างประเทศ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน. นนทบุรี: กองสุขภาพภาคประชาชน. 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักบริหารการสาธารณสุข. ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นทีมหมอครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอบิซ อินเตอร์กรุ๊ป. 2558.

สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนาการดำเนินงานทีมหมอครอบครัว จังหวัดนครราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):230-40.

โสภณ เมฆธน, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล, สิริชัย นามทรรศนีย์, และคนอื่นๆ. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

สุปราณี สิทธิกานต์, ดารุณี จงอุดมการณ์. อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้มีรายได้น้อยชุมชนเมือง : การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;43(1):19-29.

เกษมธิดา หะซะนี, อิศรา สพสมัย. การพัฒนารูปแบบคลินิกหมอครอบครัวในเขตเมืองหนาแน่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(4):667-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21

Versions

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์