ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าร่วมกับการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลา ต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและอาการชาที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
คำสำคัญ:
การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้า, อาการชาที่เท้า, พฤติกรรมการดูแลเท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลเท้าและอาการชาที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบกลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา (One group time series design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 29 คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น (Alpha coefficient Cronbach) เท่ากับ .89 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญที่ 95% confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าโดยรวมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้ามากกว่า 12.48 คะแนน (95%CI:8.15, 16.81) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการชาที่เท้าโดยรวม น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้ามากกว่า 2.14 คะแนน (95%CI:1.55, 2.72)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีพฤติกรรมการดูแลเท้าเพิ่มขึ้นและอาการชาที่เท้า 2 ที่ลดลง
References
กรมควบคุมโรค. ข่าวในรั้ว สธ. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเลิศ. รายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ.2564. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล; 2564.
Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 1991;50(2):179-211.
ปริมประภา ก้อนแก้ว, บุญฤทธิ์ วงศ์เชวงทรัพย์, ปัทมา สุพรรณกุล, กู้เกียรติ ก้อนแก้ว. ผลของโปรแกรมการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วของชุมชนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(5):861-70.
สุนิสา บริสุทธิ์. เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรมการดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
สุมาลี เชื้อพันธ์. ผลของโปรแกรมการดูแลเท้าแบบบูรณาการต่อพฤติกรรมการดูแล สภาวะเท้าและระดับ HbA1C ของผู้ป่วยเบาหวานความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(1):111-23.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing Evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing concepts of practice. 6th ed. St.Louis: Mosby; 2001.
กรมควบคุมโรค. สำนักโรคติดต่อ. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
เพ็ญรัตน์ สวัสดิ์มณี. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.
ขนิษฐา ทุมา, ศุภฤกษ์ ขอสินกลาง, สุนทร วงรักษา. ผลนวดเท้าด้วยการเหยียบรางไม้ไผ่ร่วมกับแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นต่ออาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารนเรศวร พะเยา. 2563;13(2):31-5.
รัชนก หฤทัยถาวร, มุกดา หนุ่ยศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาล. 2563;69(4):21-30.
วรางคณา บุตรศรี, รัตนา บุญพา, ชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1):13-25.
วันนิศา รักษามาตย์, พนม ทองอ่อน. ประสิทธิผลของการเหยียบถุงประคบสมุนไพรกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;3(1):13-27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง