ผลการประเมินการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การประเมินผล, ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยภาคตัดขวาง (Cross sectional study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 171 คน เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิความเที่ยงเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ด้านปัญหาอยู่ระดับปานกลาง (Mean=2.95, SD=0.74) ด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean=3.81, SD=0.84) ด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (Mean=3.83, SD=0.71) ด้านระบบแสดงข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน (Mean=3.86, SD=0.79) และด้านการเก็บรักษาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย (Mean= 3.84, SD=0.81) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการประเมินครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แสดงข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
References
ปริศนา มัชฌิมา, สายสุดา ปั้นตระกูล, เบญจวรรณ เหล่าประเสริฐ, กฤษณ์ แซ่จึง. พฤติกรรมและประสิทธิภาพการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2555.
สดใส เลิศเดช. การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2562;6(2):276-87.
สุวิภา ดวงผาสุข. ความคิดเห็น ความพึงพอใจและความมีประสิทธิภาพต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) กรมราชองครักษ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.
ทัศนีย์ ทินหม่วย. การศึกษาทัศนคติที่มีต่อการให้บริการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562.
นภดล แข็งการนา. การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ [อินเทอร์เน็ต]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: : http://aritc-qa.nsru.ac.th/aritckm/wp-content/uploads/2020/12/r2r-golf.pdf
จันทร์จิรา ตลับแก้ว, เพ็ญพันธ์ เพชรศร. การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารอินฟอร์เมชั่น. 2559;23(1):23-38.
กุสุมาลย์ ประหา. คุณภาพด้านการทำงานของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-12-23 (5)
- 2022-12-23 (4)
- 2022-12-23 (3)
- 2022-12-23 (2)
- 2022-12-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง