ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความตระหนัก การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรค เบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ความตระหนัก, การรับรู้ความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความตระหนัก การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรม การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 100 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ระยะเวลาดำเนินการ 10 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564-กุมภาพันธ์ 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval
ผลการวิจัย : หลังดำเนินการพบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักต่อการป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักต่อการป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าเท่ากับ 1.29 คะแนน (95%CI;1.17, 1.41) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถต่อการป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถต่อการป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าเท่ากับ 1.23 คะแนน (95%CI;1.09, 1.35) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวานมากกว่าเท่ากับ 1.24 คะแนน (95%CI;1.14, 1.32)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการปฏิบัติตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงมีความตระหนัก การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
References
มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. สุขภาพคนไทย 2560. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.
ยุคลธร เธียรวรรณ, มยุรี นรัตธราดร, ชดช้อย วัฒนะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. พยาบาลสาร. 2555;39(2):132-43.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเลิศ. รายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ.2564. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเลิศ; 2564.
เอกวุฒิ แตงดารา, วราภรณ์ โชติชีวเกษม, ประไพ พรไธสงค์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, วัชรพล พุทธรักษา. การจัดการระบบสุขภาพต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยทีมครูฝึกสุขภาพระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2563;26(3):142-54.
Prochaska JO, Velicer WF. The transtheoretical model of health behavior change. Am J Health Promot. 1997;12(1):38-48.
Chin MH, Cook S, Drum ML, Jin L, Guillen M, Humikowski CA, et al. Improving diabetes care in midwest community health centers with the health disparities collaborative. Diabetes Care. 2004;27(1):2-8.
เกษฎาภรณ์ นาขะมิน. กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
ณิชาพัฒน์ เรืองสิริวัฒก์, ปาหนัน พิชยภิญโญ, สุนีย์ ละกำปั่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2556;27(1):74-87.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.
เมธาพร พูลเพิ่ม, ชุภาศิรี อภินันท์เดชา, ศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(2):227-89.
ทิพย์สุมน จิตตวงศพันธุ์, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, รุ้งนภา ชัยรัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร. 2564;48(4):243-56.
Orem DE. Nursing: Concepts of Practice. 4th ed. St. Louis: Mosby; 1991.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-12-23 (2)
- 2022-12-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง