การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา ธารประสิทธิ์ โรงพยาบาลตรัง

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหาและกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกซึ่งเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่มดลูกด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูก

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาโดยการรายงานผู้ป่วย (Case study)

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนแบบบันทึกทางห้องผ่าตัด การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 30 ปี สถานภาพสมรสคู่ อาชีพค้าขายมารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ตรวจอัลตราซาวด์พบก้อนเนื้องอกบริเวณมดลูก(Submucous Myoma) แพทย์ผู้รักษาจึงพิจารณาฉีดยาลดขนาดก้อนเนื้องอก หลังฉีดยา 4 เดือนก้อนเนื้องอกขนาดเท่าเดิมและผู้ป่วยต้องการมีบุตร แพทย์จึงวางแผนการรักษาโดยการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูก(Hysteroscopy Myomectomy)

ผลการศึกษา : สตรีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่มดลูกด้วยวิธีส่องกล้องโพรงมดลูกจะมีปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยพบปัญหาจากการศึกษาในแต่ละระยะ คือ 1. ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด และมีความวิตกกังวลต่อการผ่าตัด 2. ระยะผ่าตัด ผู้ป่วยมีปัญหา คือ 1) มีโอกาสได้รับการผ่าตัดที่ไม่ถูกต้องผ่าตัดผิดคน 2) เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการจัดท่าผ่าตัด 3) เสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ผิวหนังเนื่องจากการใช้น้ำยาและสารเคมี 4) เสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพรงมดลูกจากการปนเปื้อนขณะผ่าตัด 5) อาจเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำเนื่องจากได้รับการผ่าตัดเป็นเวลานาน 6) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเครื่องจี้ไฟฟ้า 7) เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังผ่าตัด 8) เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย  3. ระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีปัญหา คือ 1) มีอาการปวดท้องน้อย 2) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัด 3) เสี่ยงต่อภาวะท้องอืดหลังผ่าตัด 4) พร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่ออยู่บ้าน

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงงานบริการห้องผ่าตัดเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

References

เมดไทย. เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) อาการ, สาเหตุ, การรักษาฯลฯ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/เนื้องอกมดลูก/

Sparic R, Mirkovic L, Malvasi A, Tinelli A. Epidemiology of Uterine Myomas: A Review. Int J FertilSteril. 2016;9(4):424-35.

Erjongmanee S,Bunyavejchevin S. Factors Associated with Lower Urinary Tract Symptoms in Thai Women with Uterine Leiomyomas. Thai J ObstetGynaecol. 2019;27(3):149-55.

Trivijitsilp P. Tumors and cervical cancer. 3rd ed. Bangkok: OS Printing House; 2016.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่อง การดูแลรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rtcog.or.th/home/wpcontent/uploads/2021/08/CPG-Myoma-30July21-edit.pdf

ศุภชัย เรืองแก้วมณี. การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องแผลเล็ก/เจ็บน้อย/ฟื้นตัวเร็ว [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: โรงพยาบาลนนทเวช; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nonthavej.co.th/women-health.php

อภิชาติ ใจดีเจริญ. เปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดกับการผ่าตัดมดลูกแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้อง. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(3);324-32.

จิราภรณ์ ทองดอนจุย. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกมดลูกที่มารับการผ่าตัดแบบผ่านกล้องส่องทางหน้าท้อง [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/206/sins_nursing_manual_2557_18.pdf

นเรศร สุขเจริญ, นลินา ออประยูร. เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

ปองปวัน เชียรวิชัย. การรักษาเนื้องอกมดลูกโดยการใช้ยาและฮอร์โมน [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6581/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01 — Updated on 2022-12-01

Versions