พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ปี 2564
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในโลหิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกมะเขือเทศกับสำนักงานการเกษตรอำเภอเต่างอย จำนวน 244 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบที่มีค่าความเชื่อมั่น (KR20) เท่ากับ .80 แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 และตรวจวิเคราะห์ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในโลหิต โดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Fisher’s exact test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย : ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับสูง 104 คน (42.62%) การปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง 154 คน (63.12%) ระดับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในโลหิตของเกษตรกรและกลุ่มที่มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในโลหิตปกติหรือปลอดภัย และกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน (p=.29, .66)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างความตระหนักและพัฒนาทักษะการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งระยะก่อน ระหว่างและหลังดำเนินการและติดตามตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในโลหิตอย่างต่อเนื่อง
References
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558;9(1):50-63.
ศุจิมน มังคลรังษี, สุวพิชญ์ เตชะสาน, วีรยา สินธุกานนท์, จิดาภา รัตนถาวร, ธัญณ์สิริ วิทยาคม, ภูษณิศา กิจกาญจนกุลและคนอื่นๆ. ความชุกของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ตกค้างในผักที่ จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(4):129-40.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเต่างอย. รายงานผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สกลนคร: งานประเมินผลการดำเนินงาน; 2564.
กรมควบคุมโรค. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง จากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.
อรวรรณ์ นิลประดิษฐ์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4. 2556;15(3):227-35.
กู้เกียรติ ทุดปอ, กานติมา พัดโท, ปิยวรรธ คำน้อย, ภาณุมาส วัดอ่อน. ความสัมพันธ์ระหว่างการปนเปื้อนออร์แกโนฟอสเฟตในกระแสเลือดของเกษตรกรสวนผักกับความรู้และพฤติกรรมของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2562;11(21):1-11.
วรรณวิมล ภัทรสิริวงศ์. รายงานผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมปีที่ 2: จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้ มีเดีย;2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง