การพัฒนาระบบบริการ งานบริการด้านยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ชิตพงศ์ วาทโยธา โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, งานบริการด้านยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบบริการงานบริการด้านยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมุกดาหาร

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 269 คน ได้มาจาก

ผู้ป่วยมะเร็งโรงพยาบาลมุกดาหาร การวิจัยนี้ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ การพัฒนาระบบบริการงานบริการด้านยาเคมีบำบัดและการประเมินผลระบบบริการงานบริการด้านยาเคมีบำบัด ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แม่แบบ (Template) ของสูตรยาเคมีบำบัดแต่ละสูตร ตามแนวทางการรักษา (Protocol) โดยมีการจัดสร้างและพัฒนาขึ้นเพิ่มเติม ในโปรแกรม HosXP และแบบเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดการยาเคมีบำบัดในกลุ่มยา จ2 ที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ยา Trastuzumab Injection วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) รวมไปถึงการนำเสนอด้วยตารางและแผนภาพ

ผลการวิจัย : การพัฒนาระบบบริการงานบริการด้านยาเคมีบำบัด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานงานบริการด้านยาเคมีบำบัด 2) การพัฒนาแม่แบบ (Template) ของสูตรยาเคมีบำบัดแต่ละสูตรตามแนวทางการรักษา (Protocol) 3) การพัฒนาระบบการจัดการอาการข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์กับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ และ 4) การพัฒนาระบบการจัดการยาเคมีบำบัดในกลุ่มยา จ2 ที่มีมูลค่าสูง และผลการประเมินระบบบริการ พบว่าเกิดความพึงพอใจ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมะเร็งที่มารับบริการ ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว เพิ่มความปลอดภัยจากการได้รับยาเคมีบำบัด 2) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน 3) องค์กร ลดค่าใช้จ่ายด้านยา ลดการสูญเสียยาและเกิดมูลค่าการประหยัด

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการพัฒนาครั้งนี้ส่งผลให้งานบริการด้านยาเคมีบำบัดมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2563 – 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/Today/download/แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ%2063-65.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf

กรมการแพทย์. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. คู่มือมาตรฐานการทำงานเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดและการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยา. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย); 2560.

สุภัสร์ สุบงกช, มานิตย์ แซ่เตียว, สุธาร จันทะวงศ์. เภสัชกรรมปฏิบัติในโรคมะเร็ง (Oncology Pharmacy Practice). พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

สุภาภรณ์ สุทธิวานิช, อัธยา คำปิว. การเปรียบเทียบภาวะคลื่นไส้อาเจียนระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านอาการอาเจียนและผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านอาการอาเจียนร่วมกับน้ำขิงในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร AC และ FAC โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2563;45(4):162-66.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์. การบริหารยาเคมีบำบัดและการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://w2.med.cmu.ac.th/ha/wp-content/uploads/2019/09/reaction.pdf

วัจนา เนคมานุรักษ์, ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและมีไข้ (febrile neutropenia) ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2564;6(2):20-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13