ประสิทธิผลของสารสกัดกัญชาสูตร Tetrahydrocannabinol (THC) 1.7% คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ คำจุลลา โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • ศิริพักตร์ ทองขันธ์ โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น THC 1.7%, คลินิกกัญชาทางการแพทย์, คุณภาพชีวิต, ระดับความปวด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% ที่ใช้ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลมุกดาหาร

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาในคลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลมุกดาหารที่ได้รับยาน้ำมันกัญชาสูตร THC 1.7% ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมาติดตามผลการรักษาที่คลินิกอย่างน้อย 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงพฤษภาคม 2565 โดยวัดประสิทธิผลด้านคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบสอบถาม EQ-5D-5L และการลดระดับความปวดโดยใช้ Pain scoreในขณะที่มีการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยาสารสกัดกัญชาควบคู่กันไป

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 35 รายเป็นเพศชาย 22 ราย (62.86%) อายุเฉลี่ย 65.48±13.12 ปี ข้อบ่งใช้ของยาน้ำมันกัญชา ได้แก่การรักษาแบบ     ประคับประคอง (Palliative Care) จำนวน 22 ราย (62.86%) นอนไม่หลับ 5 ราย (14.29%) ปวดจากมะเร็ง 4 ราย (11.43%) ปวดเรื้อรัง 2 ราย (5.71%)  ปลอกประสาทอักเสบ 1 ราย (2.86%) ลมชัก 1 ราย (2.86%) จากการติดตามผู้ป่วย 8 ครั้ง โดยติดตามแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 เดือน ในด้านประสิทธิผลเมื่อพิจารณาเรื่องคุณภาพชีวิตและระดับความปวดพบว่าค่ากลางของคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคะแนนอรรถประโยชน์แรกรับเท่ากับ 0.875(0.180); 0.016 -1.000 เพิ่มเป็น 0.960(0.071); 0.928-1.000, p<.001 ในครั้งที่ 8 ด้านระดับความปวดพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดลดลงจากครั้งแรกซึ่งเท่ากับ 2.91±3.06 เป็น 0.60 ±1.34 ในครั้งที่ 8 ด้านความปลอดภัยใช้การประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาด้วย Naranjo’s algorithm พบผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จำนวน 3 ราย (8.57%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดความปวดได้แต่อย่างไรควรพิจารณาถึงประเด็นความปลอดภัยด้วยทั้งนี้อาจสามารถพิจารณาเป็นการรักษาที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยได้แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น

References

กรมการแพทย์. สถาบันวิจัยและการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. การใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. แนวทางการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบรณาการ. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

Sexton M, Cuttler C, Finnell JS, Mischley LK. A cross –sectional survey of medical cannabis users: patterns of use and perceived efficacy. Cannabis and Cannabinoid Res. 2016;1(1):131-8.

วลีรัตน์ ไกรโกศล, อาสาฬา เชาว์เจริญ, พลช แหลมหลวง, ณัฐดนัย มุสิกวงศ์, ผกากรอง ขวัญข้าว. ผลและความปลอดภัยของยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นสูตร THC 1.7% ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่มารับบริการที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(3):50-9.

Li X, Vigil JM, Stith SS, Brockelman F, Keeling K, Hall B. The effectiveness of self-directed medical cannabis treatment for pain. Complementary TherMed. 2019;46:123-30.

Haroutounian S, Ratz Y, Ginosar Y, Furmanov K, Saifi F, Meidan R, et al. The Effect of Medicinal Cannabis on Pain and Quality-of-Life Outcomes in Chronic Pain: A Prospective Open-label Study.Clin JPain. 2016;32(12):1036-43.

Abuhasira R. Schleider LB-L, Mechoulam R, Novack V. Epidemiological characteristics, safety and efficacy of medical cannabis in the elderly. Eur J Intern Med. 2018;49:44-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-04