การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัดแยกด่านหน้าโรงพยาบาลธวัชบุรี
คำสำคัญ:
การคัดแยก, พยาบาลคัดแยก, แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาระบบและประเมินรูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินของพยาบาลที่จุดคัดแยกด่านหน้าโรงพยาบาลธวัชบุรี
รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Action Research: AR)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 24 คน และผู้มารับบริการที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 510 คน ดำเนินการเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Percentage Differential และ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัย : 1) สภาพปัญหาและความต้องการ การคัดแยกผู้ป่วย ได้แก่ ด้านสาเหตุเกิดจากประสบการณ์ ความรู้และทักษะ ความเหนื่อยล้า และแนวทางการคัดแยก ด้านผู้รับบริการมีความต้องการการบริการที่เร่งด่วน อาการเปลี่ยนแปลง อาการไม่ชัดเจน ผู้ป่วยฉุกเฉินมารับบริการพร้อมกันหลายคนในช่วงเดียวกัน และผู้ป่วยที่ไม่มีญาติไม่สามารถซักประวัติได้หรือประวัติไม่ชัดเจน 2) รูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย(1) ผู้ป่วยตรวจโรคทั่วไปที่มารับบริการทุกรายจะต้องผ่านการคัดแยกที่จุดคัดแยก โดยเป็นพยาบาลวิชาชีพทุกราย (2) การคัดแยกผู้ป่วยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน 5 ระดับ คัดแยกประเภท 1,2 และก้ำกึ่งระดับ 3 ไป 2 ส่งไปห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน (3) ผู้ป่วยระดับ 3,4 และ 5 ส่งไปหน่วยงานผู้ป่วยนอก และ 3) ภายหลังการพัฒนา พบว่า ค่าเฉลี่ย Under triage ลดลง 25.00% และ Over triage ลดลง 18.50% และค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอยแพทย์ตรวจลดลงมากที่สุด คือ ระยะเวลารอคอยแพทย์ตรวจ ESI5 = 9.07% และ ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินความแตกต่าง (p<.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระดับความฉุกเฉิน 5 ระดับ และควรมีพยาบาลที่มีประสบการณ์อยู่ประจำที่จุดคัดแยก
References
สหัศถญา สุขจำนง, บัวบาน ปักการะโต, สายสกุล สิงห์หาญ, วิศรุต ศรีสว่าง, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;1(2):123-33.
เยาวลักษณ์ ผุยหัวโนน, จุไรพร กนกวิจิตร, ลักขณา ไทยเครือ. ระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2564;27(2):69-83.
สมเกียรติ โชติศิริกุณวัฒน์. ผลของการใช้กระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโดยพยาบาลวิชาชีพห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2565;5(1):1-11.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สพฉ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2021/EBook/414441_20211229135756.pdf
อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร, วรวุฒิ ขาวทอง, ปารินันท์ คงสมบูรณ์, สมศรี เขียวอ่อน. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(2)146-51.
กรมการแพทย์. สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
สุรัตน์ สุขสว่าง. พยาบาลคัดแยกประเภทผู้ป่วย: จากกระบวนการหลักสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2561;5(2):1-14.
กรมการแพทย์. สำนักวิชาการ. MOPH ED triage. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2561.
กัลยารัตน์ หล้าธรรม, ชัจคเณค์ แพรขาว. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560; 10 มีนาคม 2560; ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2560. หน้า 1035-46.
มยุรี มานะงาน. ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2563;34(3):52-65.
สุภาพร พลพันธ์, วัลลภา ช่างเจรจา. ผลการใช้แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยโดยดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่ออุบัติการณ์การคัดกรองผู้ป่วยผิดประเภท งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2561;2(4):50-7.
กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(1):93-100.
พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(2):96-108.
Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am. 2000;35(2):301-9.
กฤษฎา สวมชัยภูมิ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, อรพรรณ โตสิงห์, อภิชญา มั่นสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล. 2562; 34(4):34-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-11-24 (2)
- 2022-10-25 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง