This is an outdated version published on 2022-10-25. Read the most recent version.

การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • โสภา โพธิมา โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจ โดยไม่ได้วางแผน ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลกุมภวาปี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพัฒนา (Development research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาล   กุมภวาปีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) และเกณฑ์คัดออก (Exclusion criteria) จำนวน 19 คน และผู้ป่วย จำนวน 56 คน โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติออสเตรเลีย แบ่งเป็น 3 ระยะ 8 ขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้ แบบวัดความพึงพอใจ และแบบบันทึกผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

ผลการวิจัย : แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในหอผู้ป่วยวิกฤต ประกอบด้วย 3 หมวด คือ การประเมินความเสี่ยง UE การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน UE และการพัฒนาคุณภาพการบริการ ส่วนผลการประเมินแนวปฏิบัติทางการพยาบาลพบว่า มีความยาก-ง่ายและความสามารถในการนำไปใช้โดยรวม 89.5% และ 94.7% ตามลำดับ ผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีความ     พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากและหลังจากนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้กับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจที่รู้สึกตัวดี จำนวน 56 คน พบว่าไม่เกิดอุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดทักษะและความชำนาญเพิ่มขึ้น

References

Curry K, Cobb S, Kutash M, Diggs C. Characteristics associated with unplanned extubations in a surgical intensive care unit. Am J Crit Care. 2008;17(1):45-51.

Yeh SH, Lee LN, Ho TH, Chiang MC, Lin LW. Implications of nursing care in the occurrence and consequences of unplanned extubation in adult intensive care units. Int J Nurs Stud. 2004;41(3):255-62.

Birkett KM, Southerland KA, Leslie GD. Reporting unplanned extubation. Intensive Crit Care Nurs. 2005;21(2):65-75.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ พ.ศ.2563. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2563.

ปิ่นสุรางค์ กระเสาร์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยสามัญ อายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2563;28(1):27-41.

da Silva PS, Fonseca MC. Unplanned Endotracheal Extubations in the Intensive care unit: Systematic review, critical appraisal and evidence-based recommendations. Anesth Analg. 2012;114(5):1003–14.

de Groot RI, Dekkers OM, Herold IH, de Jonge E, Arbous MS. Risk factors and outcomes after unplanned extubations on the ICU: a case-control study. Critical Care 2011; 15(1):1-9.

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก Clinical Practice Guidelines Development. วารสารสภาการพยาบาล. 2548;20(2):63-78.

สมจิตต์ แสงศรี. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

วันดี ศรีเรืองรัตน์, ทิพมาส ชิณวงศ์, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนักทั่วไป โรงพยาบาลหาดใหญ่. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”; 10 พฤษภาคม 2556; ณมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา; 2556. หน้า 10-21.

สุนิดา อรรถอนุชิต. การพัฒนาและการประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุโรงพยาบาลปัตตานี [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

ดวงเพ็ญ แวววันจิตร. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการกับภาวะไข้ในผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline [Internet]. Australia: NHMRC; 1998 [cite 2021 Apr 10]. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/images/a-guide-to-the-development-and-evaluation-of-clinical-practice-guidelines.pdf

สิริรัตน์ เหมือนขวัญ, นันทา เล็กสวัสดิ์, สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ. อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดึงท่อช่วยหายใจออกด้วยตนเองของผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 2550;34(4):139-47.

Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley Sons;1977.

The AGREE Collaboration. Appraisal of Guidelines for Research & Evaluation AGREE Instrument [Internet]. London: AGREE Collaboration; 2001 [cite 2020 Apr 16]. Available from: https://www.paho.org/hq/dmdocuments/2012/AGREEworksheet-guideline-appraisal-sheet.pdf

The Joanna Briggs Institute. Joanna Briggs Institute Reviewers' Manual 2014 The Systematic Review of Economic Evaluation Evidence. Australia: The Joanna Briggs Institute; 2014.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2547.

เมธินีวิรัล ทัพมงคล, วราวรรณ อุดมความสุข, พิกุล พรพิบูลย์, จรัญ สายะสถิตย์. การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติสำหรับการสื่อสารกับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2563;7(1):25-40.

วิลัยวรรณ มากมี. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสื่อสารระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

อุดมลักษณ์ เตียสวัสดิ์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ, ยุวดี บุญลอย, อภิสรา สงเสริม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในงานดูแลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(1):194-206.

อัลจนา ไชยวงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต อุษณีย์ นากุ, สุรสิทธิ์ จีสันติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2557;10(3):183-93.

ศิริพร วงศ์จันทรมณี. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหายใจล้มเหลว งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;7(1):1 -15.

ทองเปลว ชมจันทร์, ปาริชาติ ลิ้มเจริญ, อาภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการถอดท่อช่วยหายใจต่ออัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจ และความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563;2(1):58-76.

ชุติมา รัตนบุรี, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อารี ชีวเกษมสุข. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลทุ่งสงจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(2):163-73.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร. 2558;42(ฉบับพิเศษ):95-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

Versions