รูปแบบการบริหารแผนงบประมาณประจำปีของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหาร, แผนงบประมาณประจำปีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการบริหารแผนงบประมาณประจำปีของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นขั้นตอนการวิจัย การพัฒนา การทดลองใช้ และการประเมินผลรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ แบบประเมินผลการดำเนินงาน และแบบสรุปผลการตรวจสอบภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : 1) รูปแบบการบริหารแผนงบประมาณประจำปีของโรงพยาบาลชุมชนประกอบด้วยขั้นตอน การจัดทำงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณและการประเมินผลงบประมาณ และ 2) การประเมินผลรูปแบบฯ พบว่า การบริหารแผนงบประมาณประจำปีโดยรวมอยู่ในระดับมาก รายงานผลการตรวจภายในประเด็นการเงินและบัญชี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นประเด็นการตรวจสอบเงินกองทุนเพื่อชดเชยค่าเสื่อมของสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ จำนวน 7 ประเด็น (11.9%) และประเด็นการบริหารพัสดุ พบว่าส่วนใหญ่เป็นประเด็นการควบคุมและการเก็บรักษาพัสดุ จำนวน 18 ประเด็น (48.6%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการบริหารแผนงบประมาณได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น
References
พีรวัศ พรรณขาม. การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.
ชลิดา ศรมณี. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2561.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. การบริหารงบประมาณระบบใหม่กับ 7 Hurdles. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 2547;ฉบับพิเศษ 1:31-42.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป. การตรวจภายในของคณะกรรมการตรวจสอบภายในภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด ระดับโรงพยาบาลชุมชน ประเด็นการเงินและบัญชีและการบริหารพัสดุ. มุกดาหาร: สสจ; 2562.
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต. แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ราชการบริหารส่วนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบดำเนินงานปรับแผนครั้งที่ 5. นนทบุรี: ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต; 2564.
มีมี สัจจกมล. รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2552.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติ สำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.
ธิติมา ขาวสง่า, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการเงินการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):512-22.
ปรัชญวรรณ วนานันท์. การพัฒนากระบวนการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
พรจันทร์ พรศักดิ์กุล. รูปแบบกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่บริหารงบประมาณแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [ปริญญานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
สมรัฐ จุรีมาศ. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเงินการคลังโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานสำหรับเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2561.
แรกขวัญ สระวาสี, สงกรานต์ กัญญมาสา. ผลของการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(3):499-508.
อุเทน นวสุธารัตน์. การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน หลักสูตรผู้บริหารองค์การแนวใหม่สำหรับบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-10-25 (2)
- 2022-10-25 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง