ปัจจัยเสี่ยงของโรควัณโรค : กรณีศึกษาแบบย้อนหลังมีกลุ่มควบคุม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง, วัณโรค, การศึกษาแบบย้อนหลังมีกลุ่มควบคุมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรคของประชากร อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ Case control study
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ป่วยเป็นวัณโรคปอดด้วยผลยืนยันภาพเอกซเรย์ปอดและผู้ป่วยสุขภาพปกติดี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 234 ราย จำแนกเป็นกลุ่มละ 117 ราย โดยกลุ่ม Cases เก็บข้อมูลผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไปและเข้ารับการรักษาที่คลินิกวัณโรค (TB Clinic) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563-2565 ส่วนกลุ่ม Controls อายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD cases) ที่มีผลเอกซเรย์ปอดปกติ (Chest x-rays : normal) และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยทีละตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยลอจีสติคอย่างง่าย (Simple logistic regression) หาค่า OR และช่วงความเชื่อมั่น 95% Confidence interval มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์หลายตัวแปรโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจีสติค (Multiple logistic regression) รายงานค่า Adjust Odds Ratio และ 95% confidence intervals
ผลการวิจัย : เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อหาความสัมพันธ์โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจีสติค (Multiple logistic regression) พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรควัณโรค ได้แก่ ดัชนีมวลกายที่ลดลงทุก 1 หน่วยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 0.71 เท่า (p<.01, 95%CI;0.62, 0.82) โรคความดันโลหิตสูง (AOR=3.26, p= .01, 95%CI;1.26, 8.42) การไม่ได้รับวัคซีน BCG (AOR=4.72, p<.01, 95%CI;18.84, 12.06) และการมีผู้ป่วย วัณโรคร่วมบ้าน (AOR=6.05, p<.01, 95%CI;1.49, 24.50)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรค ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ให้รวดเร็ว โดยนำปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นมาเป็นตัวกำหนดการคัดกรอง
References
World Health Organization. Tuberculosis [Internet]. Geniva: WHO; 2021 [cited 2022 Jul 14]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis#
World Health Organization. Tuberculosis Profile: Thailand [Internet]. Geniva: WHO; 2021 [cited 2022 Jul 14]. Available from: https://worldhealthorg.shinyapps.io/tb_profiles/?_inputs_&entity_type=%22country%22&lan=%22EN%22&iso2=%22TH%22
World Health Organization, Stop TB Partnership. The global plan to stop TB 2011-2015: transforming the fight towards elimination of tuberculosis [internet]. Geniva: WHO; 2010 [cited 2022 Jul 14]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/44437
Centers for Disease Control and Prevention. Tuberculosis (TB) Disease and Latent TB Infection: Symptoms, Risk Factors & Treatment [Internet]. Atlanta: CDC; 2021 [cited 2022 Jul 14]. Available from: https://www.cdc.gov/tb/features/riskfactors/RF_Feature.html
Davies PD. The role of DOTS in tuberculosis treatment and control. Am J Respir Med 2003;2(3):203-9. doi: 10.1007/BF03256649. PMID: 14720002.
World Health Organization. The End TB Strategy [internet] Geniva: WHO; 2015 [cited 2022 Jul 14]. Available from: https://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/the-end-tb-strategy
กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการแพทย์. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2564.
Kim SJ, Ye S, Ha E, Chun EM. Association of body mass index with incident tuberculosis in Korea. PLoS ONE. 2018;13(4):e0195104.
Seegert AB, Rudolf F, Wejse C, Neupane D. Tuberculosis and hypertension-a systematic review of the literature. Int J Infect Dis. 2017;56:54-61. doi: 10.1016/j.ijid.2016.12.016. PMID: 28027993.
กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2556. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556.
Adane A, Damena M, Weldegebreal F, Mohammed H. Prevalence and Associated Factors of Tuberculosis among Adult Household Contacts of Smear Positive Pulmonary Tuberculosis Patients Treated in Public Health Facilities of Haramaya District, Oromia Region, Eastern Ethiopia. Tuberc Res Treat. 2020;2020:6738532. doi: 10.1155/2020/6738532. PMID: 32047665
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-09-13 (2)
- 2022-08-31 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง