This is an outdated version published on 2022-08-25. Read the most recent version.

การพัฒนาระบบและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดวงดาว สารัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสรวง

คำสำคัญ:

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ระบบและกลไกการควบคุมและป้องกันโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและกลไกและประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองสรวง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ขั้นคือ 1) ทำความเข้าใจปัญหาสถานการณ์ของโรค ความต้องการของประชาชนและคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ 2) หาแนวทางแก้ไขปัญหา 3) ปฏิบัติการ จำนวน 2 วงรอบพัฒนา และ 4) ประเมินผล ผู้ร่วมวิจัย ระยะแรกประกอบด้วยผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชนทั่วไปและข้าราชการ 100 คน ระยะที่ 2 ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน คณะกรรมการระดับพื้นที่ ประชาชน 310 คน ระยะที่ 3 และ 4 ประกอบด้วยคณะกรรมการ 15 ชุด และ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป 9,531 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์ปัญหาโดยเครื่องมือต้นไม้ปัญหา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ระบบและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคมี 5 องค์ประกอบ ขับเคลื่อนโดยกลไกคณะกรรมการ 5 ชุดหลัก 15 คณะย่อย คณะกรรมการระดับอำเภอ 2 ทีมส่งผลให้คณะกรรมการฯ มีความรู้เกี่ยวกับโรค การระบาดของโรคอยู่ในระดับมากทั้ง 2 วงรอบและพฤติกรรม DMHTT อยู่ในระดับดีมากทั้ง 4 ช่วง และประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการระบาดของโรคและพฤติกรรม DMHTT อยู่ในระดับดีมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้เกิดจากการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน การเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคสามารถนำไปปรับใช้กับการระบาดของโรคอื่นๆ โดยปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลักษณะการระบาดและบริบทพื้นที่

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค.ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf

World Health Organization. Pneumonia of unknown cause– China [Internet]. Geneva: WHO; 2020 [cited 2020 Feb 18]. Available from:https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2020-DON229

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดร้อยเอ็ด.แผนเผชิญเหตุตามแนวทางตอบโตภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID 19) จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: ศูนย์ปฏิบัติการ; 2563.

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่ออำเภอเมืองสรวง. สรุปผลการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า2019 (COVID 19) อำเภอเมืองสรวง. ร้อยเอ็ด: ศูนย์ปฏิบัติการ; 2563.

ประสิทธิ์ ลีระพันธ์.กระบวนการวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ. เอกสารโครงการพัฒนานักวิจัยพฤติกรรมสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2560. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2560.

Gibbs GR. Analyzing Qualitative Data. London: SAGE; 2007.

Nanongkhai S, Pornnimit K, Upradit A. The Key Success Factors and Key Obstacles of Administration of the prevention and Control of COVID 19 in Thailand.Journal of Business and Finance in Emerging Markets. 2020;3(2):85-90.

ธานี กล่อมใจ, จรรยาแก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2563;21(2):29-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-25

Versions