รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้ดูแลหลักในครอบครัว ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอโพนทอง

ผู้แต่ง

  • ปิยนันท์ โอบอ้วน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแลหลักในครอบครัว, เครือข่ายสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้ดูแลหลักในครอบครัวในเครือข่ายสุขภาพอำเภอโพนทอง

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 12 คน ผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว 12 คน และบุคลากรสาธารณสุข 31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (Barthel Activities of Daily Living Index: Barthel ADL Index) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และแบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : 1) สภาพปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้แก่ ปัญหาการสื่อสาร การตัดสินใจ และการกระทำร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและผู้ดูแล/ครอบครัว การเข้าถึงบริการ ขาดการสนับสนุนทางสังคม และการขาดการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมี 5 องค์ประกอบ คือ (1) การประเมินภาวะสุขภาพและความต้องการ (2) การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุและผู้ดูแล (3) การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพ (4) การพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ (5) การสนับสนุนทางสังคม 3) หลังการพัฒนา ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregivers) ที่มีภาวะพึ่งพิงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.026) และกิจกรรมตามรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะพึ่งพิงโดยครอบครัวมีความเหมาะสมของกิจกรรมตามรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานและกำหนดรูปแบบฯ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action plan) ของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

References

สรวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, เพียงตะวัน สีหวาน. สถานการณ์การดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(2):231-46.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง. งานยุทธศาสตร์. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2561.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ที คิว พี; 2553.

วราลักษณ์ ทองใบปราสาท. ประสบการณ์การปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยในตำบลแสนตออำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.

สุนิดา พวงมณี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

รัถยานภิศ พละศึก, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(3):135-50.

Sebern M. Shared Care, elder and family member skills used to manage burden. Journal of Advanced Nursing. 2005;52(2):170-79.

Deming WE. Out of the Crisis. Cambridge Mass: Massachusetts Institute of Technology; 1986.

จิตรกร วนะรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(2):285-94.

ทิพยรัตน์ กันทะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(3):451-59.

สุปราณี บุญมี, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว, สุพิตรา เศลวัตนะกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;5(4):38-49.

ณัชชภัทร พานิช, มาฑะ ขิตตะสังคะ, ประจวบ แหลมหลัก, จินต์ กล้าวิกรณ์. ยุทธศาสตร์การจัดการระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 2558;8(ฉบับพิเศษ):169-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24