การพัฒนาและประเมินผลแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ชัย
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาล, การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ชัย
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพธิ์ชัย จำนวน 16 ราย ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม – สิงหาคม 2562 และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมินการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด
ผลการวิจัย : 1)แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดประกอบด้วย (1) การประเมินความรุนแรงของ Asthma exacerbation แรกรับที่แผนกผู้ป่วยใน (2) การดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์ (3) ให้ออกซิเจน เพื่อ Keep SaO2% > 95% (4) การเฝ้าระวังและติดตามอาการ (Monitoring) (5) Day1-2 แจ้ง Asthma clinic เข้าเยี่ยม/ประเมินผู้ป่วย (6) Day2-3 ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด(7) ฝึกทักษะการใช้ยาพ่นขยายหลอดลม แนะนำการใช้ยา และ (8) Day3,4 วางแผนจำหน่าย 2) ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคโดยรวมอยู่ในระดับสูง(93.8%)การปฏิบัติตน อยู่ในระดับดี (87.5%)ผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ (100.0%) และ 3) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อแนวทางการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรค การปฏิบัติตน และได้รับแนวทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น
References
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 7 อาการ สัญญาณโรคหืด [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: สวรส.; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5363
อรนุช เรืองขจร, วราลักษณ์ กิตติวัฒน์ไพศาล. ประสิทธิผลโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับการควบคุมโรคของผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554;34(3):11-21.
โรงพยาบาลโพธิ์ชัย. กลุ่มการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ.2561. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2561.
SoukupSM.The Center for Advanced Nursing Practice Evidence-Based Practice Model.Nursing Clinic of North America. 2000;35(2):301-9.
ฟองคำ ดิลกสกุลชัย.การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พรี-วัน; 2549.
Peytremann-Bridevaux I, Staeger P, Bridevaux PO, Ghali WA, Burnand B.Effectiveness of Chronic Obstructive Pulmonary Disease ManagementPrograms:Systematic Review and Meta-Analysis. TheAmerican Journal of Medicine. 2008;121(5):433-43.
Sin DD, McAlister FA, Man SFP, Anthonisen NR.Contemporary management of chronic obstructive pulmonarydisease. JAMA. 2003;290(17):2301-12.
Efraimsson EO, Hillervik C, Ehrenberg A. Effects of COPD self-caremanagement education at a nurse-led primary health care clinic. Scand JCaring Sci. 2008;22(2):178-85.
Jones PW, Harding G, Berry P, Wiklund I, Chen WH, Kline Leidy N.Development and first validation of the COPD AssessmentTest. EurRespir J. 2009;34(3):648-54.
Lemmens KM, Nieboer AP, Huijsman R. A systematic review of integrateduse of disease management interventions in asthma and COPD. RespiratoryMedicine. 2009;103(5):670-91.
Riera HS, Rubio TM, Ruiz FO, Ramos PC, Otero DC, Hernandez TE, et al. et al. Inspiratory muscle training in patients with COPD effect ondyspnea, exercise performance and quality of life. Chest. 2001;120(3):748-56.
Adams SG, Smith PK, Allan PF, Anzueto A, Pugh JA, Cornell JE.Systematic review of the chronic care model in chronicobstructive pulmonary disease prevention and management. Arch Intern Med. 2007;167(6):551-61.
Coultas D, Frederick J, Barnett B, Singh G, Wludyka P. A randomized trial of two types of nurse-assisted home care for patients with COPD. Chest.2005;128(4):2017-24.
ดนัย พิทักษ์อรรณพ, บังอร ม่วงไทยงาม. การพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคหืดแบบบูรณาการ โรงพยาบาลสวรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561;27(5):856-65.
ศิริญญาวิสัย.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คลินิกโรคหอบหืด โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.[วิทยานิพนธ์].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
ชลอศักดิ์ สุชัยยะ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการภาวะหืดกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหืดต่อการกลับมารักษาซ้ำและพฤติกรรมการปฏิบัติตัว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563; 43(4):48-58.
ธมลวรรณ ศรีกลั่น, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อรวมน ศรียุกตศุทธ.ผลของโปรแกรมการจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชัน ต่อความรู้ การใช้ยาสูด และการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2564;39(2):50-63.
Andrews KL, Jones SC, Mullan J. Asthma self management in adults: a review of currentliterature. Collegian. 2014;21(1):33-41.
สุชาดา เสตพันธ์, วีระนุช มยุเรศ,นันทวดี ใจหาญ, สิรินาถ ชาบุญเรือง, พัชรี พรหมสุวงศ์.การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหืดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;33(3):185-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง