ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความตระหนัก ความสมดุลในการตัดสินใจการรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • สมร จำปาทิพย์ โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

ความตระหนัก, ความสมดุลในการตัดสินใจ, การรับรู้ความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบความตระหนัก ความสมดุลในการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 

รูปแบบการวิจัย:การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi - Experimental Research ; One group pretest posttest design with Repeated Measures)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2หน่วยบริการปฐมภูมิ  (PCU)โรงพยาบาลเกษตรวิสัยจำนวน 120 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า(Inclusion criteria)และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ระยะเวลาดำเนินการ 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Repeated Measure One Group with Repeated Measureเปรียบเทียบรายคู่ด้วย Bonferroniและ Paired t-test  กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval

ผลการวิจัย: กลุ่มเสี่ยงมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนัก ความสมดุลในการตัดสินใจการรับรู้ความสามารถตนเอง และการเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 3 ช่วงเวลาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ (Pairwise comparisons) ด้วยวิธีของ Bonferroniพบว่า  ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนัก ความสมดุลในการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถตนเอง และการเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหารในสัปดาห์ที่ 10 มากกว่า สัปดาห์ที่ 6 และก่อนทดลองและกลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ต่ำกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ต่ำกว่าเท่ากับ  14.43 mg/dl (95%CI; 14.25, 14.62)

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการปฏิบัติตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care. 2003;26(10):2758-63. doi: 10.2337/diacare.26.10.2758. PMID: 14514576.

Tabak AG, Herder C, Rathmann W, Brunner EJ, Kivimaki M. Prediabetes: a high-risk state for developingdiabetes. Lancet 2012;379(9833):2279-90.doi: 10.1016/S0140-6736(12)60283-9. PMID: 22683128.

ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ, กิตติพัฒน์โสภิตธรรมคุณ.อันตรายจากโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.2559;2(2):80-8.

อุไรวรรณ สิงห์ยะเมือง.ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ.2563;3(1):175-189.

โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพปี พ.ศ. 2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

วัฒนา สว่างศรีและศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(1):116-122.

Prochaska JO, Velicer WF. The transtheoretical model of health behavior change. Am J Health Promot 1997;12(1):38-48. doi: 10.4278/0890-1171-12.1.38. PMID: 10170434.

Bansal N. Prediabetes diagnosis and treatment: A review. World J Diabetes. 2015;6(2):296-303. doi: 10.4239/wjd.v6.i2.296. PMID: 25789110.

เกษฎาภรณ์นาขะมิน. กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. (วิทยานิพนธ์).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

ณิชาพัฒน์เรืองสิริวัฒก์, ปาหนัน พิชยภิญโญและสุนีย์ ละกำปั่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2.วารสารพยาบาลสาธารณสุข.2556; 27(1):74-87.

อรุณีผุยปุ้ย และวันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.2556; 31(4): 80-88.

กัลยา ตาคำ และอำพินขอนพิกุล. ผลการออกกำลังกาย ด้วยอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์จากยางยืดเพื่อลดระดับน้ำตาลในประชากรกลุ่มเสี่ยง. วารสารโรงพยาบาลแพร่.2554; 19(2):70-78.

วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร, ปิยะธิดา นาคะเกษียร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน.วารสารพยาบาลศาสตร์.2562;37(1):60-72.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2550.

กาญจณาพรหมทอง. ผลของโปรแกรมเสริมพลังชุมชนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-05