รูปแบบการจัดการตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ พันธุ์พาณิชย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานต่อระดับน้ำตาลในเลือดในพื้นที่อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการAction Research: Technical Action Research

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการเตรียมการ มีกิจกรรมการประชุมทีมวิจัย เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กรอบแนวคิด จัดหาทรัพยากรที่จำเป็น การจัดเตรียมและทดสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่สองเป็นการดำเนินการวิจัยและทดลองใช้รูปแบบการจัดการตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และระยะที่สามเพื่อติดตามและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญที่ 95% Confidence Interval

ผลการวิจัย : กลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 32 คน เป็นหญิง (68.8%) อายุเฉลี่ย 60 ปี สถานภาพสมรสแล้ว (90.6%) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (46.9%) อาชีพเกษตรกรรม (93.8%) รายได้ของครอบครัว 5,000 บาทต่อเดือน และดัชนีมวลกายเกิน (68.8%) และหลังการพัฒนา กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) โดยมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 16.53 mg% (95%CI; 7.28, 25.77)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าก่อนได้รับกิจกรรม ดังนั้นการนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ควรมีการศึกษากระบวนการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆ ของชุมชน

References

International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas sixth edition [Internet]. International Diabetes Federation; 2013 [cited 2020 Nov 13]. Available from:https://www.idf.org/component/attachments/attachments.html?id=813&task=download

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

ราม รังสินธุ์. การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครประจำปี 2555 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:กองโรคติดต่อ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12363&tid=&gid=1-027

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2557. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability Adjusted - Life Year: DALY รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์; 2558.

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต; 2560.

วณิชา กิจวรพัฒน์. พิชิตอ้วนพิชิตพุง. กรุงเทพฯ: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ;2553.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2010. Diabetes Care. 2010;33(Suppl 1):S11-S61.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ, สมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2557.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2017.Diabetes Care. 2017;40(Suppl 1):S33-S43.

Kanfer FH. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change: A textbook of methods.4th ed. New York: Pergamon Press; 1991. p. 305-60.

ร่มเกล้า กิจเจริญไชย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเรื่องการบริโภคอาหารในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ค่าน้ำตาลสะสม และดัชนีมวลกาย [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานตามตัวชี้วัด NCD Clinic Plus ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2020

ศันสนีย์ กองสกุล. ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์ ,น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้ กิจกรรมการดูแลตนเองและค่าฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ. 2012;30(2):98-105.

ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, สุทธีพร มูลศาสตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ.2560;9(1):105-16.

ไชยยา จักรสิงห์โต. ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.

Lorig, KR, Holman H. Self-management education: history, definition, outcome and mechanism. Ann Behav Med. 2003;26(1):1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23