การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ประจันพล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2565 จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพ 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและแบบประเมินความคิดเห็นพยาบาล แนวปฏิบัติการพยาบาลในการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และคู่มือการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  

ผลการวิจัย : จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้แนวปฏิบัติการพยาบาล 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด Low cardiac out put ป้องกันการเกิด Ineffective tissue perfusion  ป้องกันการสับสนเฉียบพลัน/กลัว วิตกกังวล  เฝ้าระวังการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจาก Fluid & Electrolyte และ เฝ้าระวังการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากความปวด ผลการประเมินการใช้แนวปฏิบัติพบว่าพยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลได้ ยกเว้นในเรื่องการประเมินภาวะ Hemodynamic ผู้ใช้แนวปฏิบัติเห็นด้วยในระดับปานกลางถึงมากที่สุด และผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยวิธีการใช้ยาและไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในการเฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย

References

Etzioni DA, Starnes VA. The epidemiology and economics of cardiothoracic surgery in the elderly. In: Katlic MR, editor. Cardiothoracic surgery in the elderly. New York: Springer.2011. p.5-24.

สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. จำนวนการผ่าตัดหัวใจในประเทศไทยระหว่างปี 2544-2563 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaists.org/news_detail.php?news_id=212

สัญพิชา ศรพิรมย์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31Suppl:S46-52.

สถาบันโรคทรวงอก. มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบัน; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ccit.go.th/document_upload/cnpg/CNPG_2555_03.pdf

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. งานสถิติและข้อมูลการบริการ. สถิติข้อมูลการบริการ. ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาล; 2563.

กัณฑิรา ชะพลพรรค. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้สูงอายุโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงคนประชานุเคราะห์ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

ฉวีวรรณ ธงชัย, พิกุล นันทชัยพันธ์. การใช้ Evidence Based Practice. เชียงใหม่: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่; 2548.

Vermeersch P, Beavers J. Appraisal of tools to enhance evidence based clinical practice. Clinical Nurse Specialist CNS. 2004;18(4):186-91.

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence based practice model: promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America. 2000;35(2):301-9.

พุทธกัญญา นารถศิลป์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

รุจน์นลิน พีระกมลโรจน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยเจ็บหน้าอกจากกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในแผนกอุบัติและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23