This is an outdated version published on 2022-05-23. Read the most recent version.

การศึกษาเชิงพรรณนาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • สลีลา วิวัฒนิวงศ์ โรงพยาบาลพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

บุคลากรทางการแพทย์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019, โรงพยาบาลทั่วไป

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความเสี่ยง และปรับปรุงมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเอกสารแบบสอบสวนโรค กรณีบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ของกรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง จำนวน 30 คน (60.0%) อายุเฉลี่ย 41 ปี ( =11.0) เป็นพนักงานเวรเปล (24.0%) แผนกเวรเปล (24.0%) มีอาการและอาการแสดง (76.0%) มีภาพรังสีทรวงอกปกติ (52.0%) ความเสี่ยงที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 คือ มีประวัติเสี่ยงทั่วไปช่วง 14 วันก่อนป่วย ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด (98.0%) มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันภายนอกโรงพยาบาล (14.0%) ส่วนประวัติเสี่ยงเฉพาะของบุคลากรทางการแพทย์ คือ มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยในสถานพยาบาล (46.0%) สัมผัสเพื่อนร่วมงานซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยยืนยันโรคโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน (32.0%) ไม่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (32.0%) ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : บุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อไวรัส SARS-CoV-2  ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักในการป้องกันตนเอง โดยรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์และจัดวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมและเพียงพอ

References

Kumar A, Singh R, Kaur J, Pandey S, Sharma V, Thakur L, et al. Wuhan to world: the COVID-19 pandemic. Frontiers in Cellular and Infection Microbiology 2021;11:1-21. doi: 10.3389/fcimb.2021.596201. PubMed PMID: 33859951.

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. WHO; 2022 [cited 2022 Feb 7]. Available from: https://covid19.who.int/table.

Centers for Disease Control and Prevention. How COVID-19 Spreads [Internet]. CDC; 2021 [cited 2022 Feb 7]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/how-covid-spreads.html.

Centers for Disease Control and Prevention. Basics of COVID-19 [Internet]. CDC; 2021 [cited 2022 Feb 7]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/about-covid-19/basics-covid-19.html.

Wei JT, Liu ZD, Fan ZW, Zhao L, Cao WC. Epidemiology of and risk factors for COVID-19 infection among health care workers: a multi-centre comparative study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020;17(19):7149.

World Health Organization. Exploration of COVID-19 health-care worker cases : implications for action [Internet]. WHO; 2020 [cited 2022 February 7]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/333945.

กรมควบคุมโรค. แนวโน้มผู้ติดเชื้อ ตามมิติต่างๆ ด้านประชากร [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2022 [เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=select-trend-line.

Talevi D, Socci V, Carai M, Carnaghi G, Faleri S, Trebbi E, et al. Mental health outcomes of the CoViD-19 pandemic. Rivista di psichiatria. 2020;55(3):137-44.

Usman N, Mamun MA, Ullah I. COVID-19 infection risk in Pakistani health-care workers: The cost-effective safety measures for developing countries. Social Health and Behavior. 2020;3(3):75-7.

Raveendran AV, Jayadevan R, Sashidharan S. Long COVID: an overview. Diabetes & Metabolic Syndrome. 2021;15(3):869-75.

Sabetian G, Moghadami M, Hashemizadeh Fard Haghighi L, Shahriarirad R, Fallahi MJ, Asmarian N, et al. COVID-19 infection among healthcare workers: a cross-sectional study in southwest Iran. Virology Journal. 2021;18(1):58.

Pozzan E, Cattaneo U. Women health workers: Working relentlessly in hospitals and at Home [Internet]. Geneva: International Labour Organisation; 2020 [cited 2022 February 9]. Available from: https://www.ilo.org/tokyo/information/pr/WCMS_741060/lang--en/index.htm

Hartmann S, Rubin Z, Sato H, O Yong K, Terashita D, Balter S. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) infections among healthcare workers, Los Angeles county, February–May 2020. Clinical Infectious Diseases 2021;73(7):e1850-e1854. doi: 10.1093/cid/ciaa1200. PubMed PMID: 32803237.

Razvi S, Oliver R, Moore J, Beeby A. Exposure of hospital healthcare workers to the novel coronavirus (SARS-CoV-2). Clinical Medicine 2020;20(6):e238-e240. doi: 10.7861/clinmed.2020-0566. PubMed PMID: 32962975.

Utku AÇ, Budak G, Karabay O, Guçlu E, Okan HD, Vatan A. Main symptoms in patients presenting in the COVID-19 period. Scottish Medical Journal. 2020;65(4):127-32.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 9/2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศบค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/154/T0007.PDF

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23

Versions