รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผลในผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ มีชำนาญ โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

การสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล, Metformin, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผลในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและมารับบริการที่โรงพยาบาลธวัชบุรี และหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธวัชบุรีเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 จนถึง 30 กันยายน 2564 จำนวน 2,973 รายโดยใช้แบบบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผลประกอบด้วย (1) การกำหนดนโยบายโดย PTC (2) การจัดการความรู้ของบุคลากร (3) การเข้าถึงข้อมูลสำคัญของผู้ป่วย และการสั่งยาผ่านคอมพิวเตอร์ CPOE และโปรแกรมช่วยจ่ายยา (4) ระบบแจ้งเตือน CKD Pop Up Alert (5) การบริหารอัตรากำลังและ (6) บทบาทสหวิชาชีพและเภสัชกรในการตรวจสอบความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาและผลการส่งเสริมการใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผลพบว่า วงรอบที่ 1 การสั่งใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผล(96.21%) ในผู้ป่วยCKD Stage 1 (97.83%), CKD Stage 2 (98.88%), CKD Stage 3a (95.43%), CKD Stage 3b (69.26%) และวงรอบที่ 2 การสั่งใช้ยาMetformin สมเหตุผล(98.21%) ในผู้ป่วยCKD Stage 1 (99.23%), CKD Stage 2 (99.54%), CKD Stage 3a (98.49%), CKD Stage 3b (79.87%) และการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมลดลง แต่ยังพบการสั่งใช้ยาใน CKD Stage 4 และ 5 ในวงรอบที่ 1 จำนวน 65 และ 5 ครั้ง และวงรอบครั้งที่ 2 จำนวน 35 และ 2 ครั้ง ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลจากการวิจัยรูปแบบการส่งเสริมการใช้ยา Metformin อย่างสมเหตุผล ส่งผลให้มีการปรับขนาดยา Metformin ให้เหมาะสมกับภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยมากขึ้น แต่ก็ยังพบว่ามีการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 และ 5 ซึ่งเป็นข้อห้ามใช้

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สปสช. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. กรุงเทพฯ : ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

วิลาสินี เสียงตรง, บุญส่ง เอี่ยมฤกษ์ศิริ, พัชรี ยิ้มรัตนบวร, นรินทร์ จินดาเวช, จินดา ประจญศานต์, อัญชนา คาพิลา. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ Metformin Associated Lactic Acidosis ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ที่ได้รับยาเมทฟอร์มิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ระหว่าง พ.ศ. 2555-2560. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(5):1066-76.

จิตต์ประไพ น้อยนวล, สุมัณฑนา ตันประยูร. กรณีศึกษา: ภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของแลคติกซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน Case Report : Metformin-associated Lactic Acidosis. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2564;16(4):403-9.

ศุภกร อ่อนงาม. รูปแบบของการสั่งใช้ยาเมทฟอรม์มินในผู้ปาวยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีอัตราการกรองของไตต่างๆ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2564;13(1):175-88.

รจนา จักรเมธากุล. ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกเกินซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ยาเมทฟอร์มิน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;147(8):147-51.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria : Deakin University press; 1988.

วิมลจิต จันทโชติกุล, ธิติ รัตนาคม. บทบาทของทีมสหวิชาชีพในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกระบี่เวชสาร. 2563;3(1):61-76.

สุมิตรา สงครามศรี, มาลินี เหล่าไพบลูย์. การสั่งยาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในการลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี : Interrupted Time Series Design. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560; 13(2) : 53-66.

ดาราณี อิศราวิชญกุล. การพัฒนาระบบ RDU-CKD alert KHONYOK HOSPITAL. ใน: การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์พัฒนาสารสนเทศด้านบริหารเวชภัณฑ์และบริการเภสัชกรรม ปีงบประมาณ 2561; วันที่ 22 – 24 สิงหาคม 2561; ณ โรงแรมทีเคพาเลซ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ; กระทรวงสาธารณสุข; 2561. หน้า 39-40.

สุทธินี เรืองสุพันธุ์, วรวุฒิ สุพิชญ์, สมพร พานสุวรรณ. การจัดการเชิงระบบสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายอำเภอโนนสูง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2563;26(2):61-78.

ปรารถนา ปันทะ, วิน เตชะเคหะกิจ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งยา Metformin อย่างไม่สมเหตุสมผลในโรงพยาบาลลำปาง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562;33(1):131-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-22