กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, เครือข่ายสุขภาพ, การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินกลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพเพื่อส่งเสริมคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบสัดส่วนโดยใช้ Percentage difference
ผลการวิจัย : พบว่าสภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.ติดดาว) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (58.33%) และกลยุทธ์การพัฒนาฯ ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ (1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงาน (Problems analysis) (2) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) (Development of board competency) (3) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (Supervising, follow-up and evaluation) และ (4) สรุปถอดบทเรียน และประชาสัมพันธ์ (Summary of lessons and public relations) หรือ A_BES model และผลการประเมินพบว่า การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการเปลี่ยนแปลงโดยรวมเพิ่มขึ้น 21.53%
สรุปและข้อเสนอแนะ : กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้และทักษะ หลังจากนั้นจึงนำไปพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) ให้มึคุณภาพเพิ่มขึ้น
References
World Health Organization. The world health report 2008 : primary health care now more than ever. Geneva: WHO; 2008
World Health Organization. The challenge of implementation: District health systems for primary health care. Geneva: WHO; 1988.
Lawn JE., Rohde J, Rifkin S, Were M, Paul VK, Chopra M. Alma-Ata 30 years on: Revolutionary, relevant, and time to revitalise. Lancet. 2008;372(9642):917-27.
World Health Organization. Atlas of african health statistics 2016: health situation analysis of the African region. Brazzaville: WHO; 2016.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2561. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุ่มเม้า. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ.2563. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัย; 2563.
หทัยรัตน์ คงสืบ, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2562;5(1):72-84.
สุจิตร คงจันทร์. การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.ติดดาว) จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(8):148-66.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2563. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ปฏิวัติ แก้วรัตนะ. รูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์]. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2558.
ปะราลี โอภาสนันท์, วิยะดา รัตนสุวรรณ, สุนีย์ ปัญญาวงศ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(2):177-187.
สุรชัย รุจิวรรณกุล. การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพระดับอำเภอโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ : กรณีศึกษา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, มณี อาภานันทกุล, อาภา ยังประดิษฐ, นิตยา สินสุกใส, และคนอื่นๆ. กระบวนการพัฒนาสุขภาพพอเพียงในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2555;35(1):28-38.
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a Handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO; 2010.
นิฤมล กมุทชาติ. รูปแบบการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพ ระดับอำเภอ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
ยงยุทธ์ พงษ์สุภาพ. การจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2557.
ธีรศักดิ์ พาจันทร์, พิทยา ศรีเมือง, ประไพจิตร ชุมแวงวาปี, เศรษฐพงศ์ จ่าตา. การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล. 2558;26(2);100-11.
ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร, จิราพร วรวงศ์, ศิราณี ศรีหาภาค, ธานี กล่อมใจ,พิทยา ศรีเมือง. การเรียนรู้การบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ : บทบาทและมุมมองของอาจารย์หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;26(3):27-39.
เกศแก้ว สอนดี, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ผุสดี ก่อเจดีย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ,ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ. การประเมินผลสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2561;28(1):116-26.
จีระเกียรติ ประสานธนกุล. การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์]. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง