ผลของโปรแกรมการเรียนรู้และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และทักษะการใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

ผู้แต่ง

  • จตุพร ดีพลงาม โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้และการติดตาม, การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, เครื่องตรวจ ระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) และประเมินทักษะการใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Qua-si experimental design: One group pretest - posttest  design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก แบบสังเกตการปฏิบัติ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval

ผลการวิจัย: หลังการทดลองพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)ลดลงต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .003) โดยมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงเท่ากับ 1.43% (95%CI; 0.53, 2.32) และผลการประเมินการใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและการบันทึกผลพบว่าผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ และผู้ดูแล (กรณีผู้ป่วยมีผู้ดูแล) สามารถใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและบันทึกผลได้ถูกต้อง (100.00%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการเรียนรู้และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองส่งผลให้ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงและผู้ป่วยเบาหวานสามารถพัฒนาทักษะใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และบันทึกผลได้ถูกต้อง

References

จิตราวดี สอนวงศา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โดยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2563;3(1):46-55.

ธัสมน นามวงษ์, รัชชนก กลิ่นชาติ, สุมาลี ราชนิยม, พนัชกร ค้าผล, นฤมล ทองภักดี. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562;29(3):179-93.

โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เครือข่ายสุขภาพอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2556;6(3):102-9.

Lorig KR, Holman H. Self–management Education: History, definition, outcome, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine. 2003;26(1):1-7.

Clement S. Diabetes self-management education: a technical review. Diabetic Care 1995;18:1204-14.

Lemon CC, Lacey K, Lohse B, Hubacher DO, Klawitter B. Outcomes monitoring of health, behavior, and quality of life after nutrition intervention in adults with type 2 diabetes. Journal of the American Dietetic Association 2004;104(2):1805-15.

Norris SL, Lau J, Smith SJ, Schmid CH, Engelgau MM. Self management education for adults with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2002;7(1):1159-71.

Schreurs KMG, Colland VT, Kuijer RG, Ridder DTD, Elderen TV. Development, content, and process evaluation of a short self-management intervention in patients with chronic diseases requiring self-care behaviors. Patient Educ Couns. 2003;51(2):133-41.

Holroyd KA, Creer TL. Self management of chronic disease (Handbook of clinical interventions and Research). New York: Academic Press; 1986.

Resnicow K, McMaster F, Bocian A, Harris D, Zhou Y, Snetselaar L, et al. Motivational Interviewing and dietary counseling for obesity in primary care: an RCT. Pediatrics. 2015; 135(4): 649-57.

อังศินันท์ อินทรกำแหง, อรพินทร์ ชูชม, วรสรณ์ เนตรทิพย์, พัชรี ดวงจันทร์. การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552;15(1):28-38.

Spahn JM, Reeves RS, Keim KS, Laquatra I, Kellogg M, Jortberg B, et al. State of the evidence regarding behavior change theories and strategies in nutrition counseling to facilitate health and food behavior change. J Am Diet Assoc. 2010;110(6):879-91.

ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, รัศมี ตันศิริสิทธิกุล, ธิดา สกุลพิพัฒน์, พิกุล เจริญสุข, วิชัย เอกพลากร. ประสิทธิผลของการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนเมืองโดยการวิจัยเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วม. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 2559; 99(2):125-32.

พรรณทิพย์ ตันติวงษ์, อรัญญา เชฎฐากุล,เดือนเพ็ญ นรารักษ์,สุนีย์ ฟังสูงเนิน. ผลของการเข้ากลุ่มอภิปรายเดือนละครั้งต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2554:35(2):97-105.

กุนนที พุ่มสงวน. การเรียนรู้สู่ทักษะปฏิบัติการพยาบาลเจาะเลือดปลายนิ้ว: กรณีศึกษาหุ่นจำลองพยาบาลทหารบกที่ผลิตจากยางพารา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(2):86-94.

โรงพยาบาลยะลา. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม. รายงานผลการดำเนินงานโครงการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-monitoring Blood Glucose :SMBG) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา. ยะลา: โรงพยาบาล; 2561.

พณพัฒณ์ โตเจริญวาณิช, พรหมศิริ อำไพ. ความแม่นยำของการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยกลูโคมิเตอร์ Accu-Check Advantage. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550;25(1):49-60.

วรรณภา สิทธิปาน, สาวิตรี สลับศรี, ฉัตรชัย ไข่เกษ. ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32(2):68-82.

สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์, สกุล วรากรพิพัฒน์. การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดโดยการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมด้วยอินซูลิน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2009;4(2):177-84.

น้ำเพชร สายบัวทอง, สิริรัตน์ ลีลาจรัส. ความรู้สำหรับการประเมินการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และคลิปวิดีโอการสอนการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองผ่านทางไลน์ในผู้ป่วยเบาหวาน.วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564;13(1):245-52.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2558;26 ฉบับเพิ่มเติม 1:117-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-22 — Updated on 2022-04-22

Versions