การประเมินผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด จังหวัดสงขลา ปี 2563

ผู้แต่ง

  • อรรถพงศ์ เพ็ชร์สุวรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การบำบัดรักษาและฟื้นฟู, ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การประเมิน : เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลการดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

รูปแบบการประเมิน : Summative evaluation;โดยใช้รูปแบบ CIPP Model

วัสดุและวิธีการประเมิน : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพครบกำหนดตาม  เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) 350คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ (Systemic random sampling) และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Independent t-test และ Chi-square test

ผลการประเมิน : ด้านบริบทมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง (55.40%) ด้านกระบวนการ เห็นด้วย (94.00%) และผลการดำเนินการพบว่า ส่วนใหญ่ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดในระดับสูง (69.40%) ความพึงพอใจต่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับสูง (48.60%) ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเลิกยาเสพติดได้ (66.00%) วิธีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแตกต่างกัน (p=.007) แต่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและความพึงพอใจต่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพไม่แตกต่างกัน (p=.180 และ .257) ตามลำดับและระบบบังคับบำบัด (75.90%) ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลิกยาเสพติดมากกว่าระบบสมัครใจ (58.00%) (p=.009) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการประเมินครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรปรับปรุงการดำเนินการโดยเพิ่มบุคลากร สนับสนุนงบประมาณวัสดุ อุปกรณ์ และความพร้อมของสถานที่เพื่อดำเนินการและผู้ดำเนินการควรเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. รายงานการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. สงขลา:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2563.

กระทรวงยุติธรรม. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรมคุมประพฤติ. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กรม; 2558.

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory, Models, andApplications.San Francisco: Jossey-Bass; 2007.

วิรัช ไชยศักดิ์, ขวัญตา บาลทิพย์, ถนอมศรี อินทนนท์. การประเมินผลโครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เสพยาเสพติดจังหวัดสตูล.วารสารอัล-นูร. 2559;11(21):51-65.

ภารณี นิลกรณ์ และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินผลรูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดรายใหม่ในเยาวชนโดยความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จังหวัดนครปฐม. สงขลา: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

อณัญญา ขุนศรี, พรสุข หุ่นนิรันดร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 8.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(11):82-98.

ณัฐติญา นกแก้ว. ผลสำเร็จของการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยใช้การบูรณาการด้านการแพทย์แผนไทยในแหล่งบำบัดยาเสพติดทางภาคใต้ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

กัลยาณี สุเวทเวทิน, สัมมนา มูลสาร, ธีราพร สุภาพันธุ์. การประเมินผลการดำเนินงานการบำบัดผู้เสพเมทแอมเฟตามีน ด้วยระบบสมัครใจบำบัดที่โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562;29(2):37-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-09