ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ สิงห์ยะเมือง โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ผลลัพธ์ทางสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลอง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 86 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 43 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 95% confidence interval

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.95 คะแนน (95%CI: 1.70, 2.22) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.01 คะแนน (95%CI: 0.79, 1.22) ; ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.002) โดยมีค่าเฉลี่ยลดลง 39.18 mg/dl (95%CI: 0.79, 1.22) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยลดลง 4.05 %  (95%CI: 3.14, 4.97)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

กรมควบคุมโรค. กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพปี พ.ศ. 2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon Press; 1991. p. 305-60.

อารี เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(2):129-34.

ดวงมณี วิยะทัศน์, อุไร ศิลปะกิจโกศล. ผลของโปรแกรมการจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลพนมสารคาม. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561;5(2):39-54.

Miller CK, Gutschall MD, Holloman C. Self-monitoring Predicts Change in Fiber Intake and Weight Loss in Adults with Diabetes Following An Intervention Regarding the Glycemic Index. Patient Educ Couns. 2009;76(2):213-19.

Brunerova L, Smejkalova V, Potockova J. Andel M. A comparison of the influence of a high-fat diet enriched in monounsaturated fatty acids and conventional diet on weight loss and metabolic parameters in obese non-diabetic and Type 2 diabetic patients. Diabetic Med. 2007;24(5):533-40.

กมลพรรณ วัฒนากร, อาภรณ์ ดีนาน. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556;27(2):143-55.

ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, นิรมล พัจนสุนทร, เนสินี ไชยเอีย, เสาวนันท์ บำเรอราช. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายต่อส่วนประกอบของร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และสมรรถภาพของหัวใจและหายใจในผู้ใหญ่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องในชนบท จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2559;11(2):47-63.

อารยา เชียงของ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

ไชยา ท่าแดง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

Hu H, Li G, Arao T. Validation of a Chinese version of the self-efficacy for managing chronic disease 6-item scale in patients with hypertension in primary care. ISRN [Internet]. 2013 [cited 2021 Jan 10]; 2013: 1-6. Available from: https://www.hindawi.com/journals/isrn/2013/298986/

Schmitt A, Gahr A, Hermanns N, Kulzer B, Huber J, Haak T. The Diabetes Self-Management Questionnaire (DSMQ): development and evaluation of an instrument to assess diabetes self-care activities associated with glycemic control. Health and quality of life outcomes [Internet]. 2013 [cited 2021 Jan 12]; 11: 138. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3751743/

Davis LL. Instrument Review: Getting the Most from a Panel of Experts. Applied Nursing Research. 1992;5(4):194-7.

ศุภพงศ์ ไชยมงคล. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2564; 15(37):237-49.

ปรีชา สุวรรณทอง, กานต์พิชชา เลิกดี, ภูริทัต สายชลทรัพย์, ศรัณยู จันทรนิภา, สริตา จิ้นฮะ, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2562;(2)3:44-56.

วรางคณา บุตรศรี, รัตนา บุญพา, ชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1):13-25.

ศรินทร์ลักษณ์ แดงด้อมยุทธ์. ผลของโปรแกรมเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังในการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานในชนิดที่ 2 ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563;1(2):30-7.

กาญจณา พรหมทอง. ผลของโปรแกรมเสริมพลังชุมชนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ธมภร โพธิรุด, สุมิตรา พรานฟาน, กวิสรา สงเคราะห์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วารสารพยาบาล. 2563; 69(2):11-20.

วชิรา สุทธิธรรม, ยุวดี วิทยพันธ์, สุรินธร กลัมพากร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลานสกา. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(1):19-31.

สิชล ทองมา, วารี กังใจ,สหัทยา รัตนจรณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2564; 16(2); 140-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01