This is an outdated version published on 2022-03-28. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • มิตร สารัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสรวง

คำสำคัญ:

การจัดการความปลอดภัยทางถนน, ระบบและกลไก, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง   

รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา (Research and development design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยการทบทวนแนวคิด และทฤษฎี การสำรวจสภาพปัญหา การสร้างและพัฒนารูปแบบฯ และการให้ความรู้ รูปแบบฯ มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ( = 0.63) จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (2) การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ ดำเนินการเป็นระยะเวลา 13 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ % difference

ผลการวิจัย : รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา (2) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ (3) การจัดทำโครงการ (4) การนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ (5) สรุป ถอดบทเรียนและประชาสัมพันธ์ และหลังการพัฒนาคณะกรรมการฯ มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยรวมเพิ่มขึ้นโดยมีร้อยละความแตกต่างเพิ่มขึ้น 53.33% จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุลดลง 27.90% จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บลดลง 6.29% แต่มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 คน และไม่มีผู้เสียชีวิตในเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บลดลง และไม่มีผู้เสียชีวิตในเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับพื้นที่. นนทบุรี: กรม; 2560.

World Health Organization. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แผนดำเนินการระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2558-2561) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สสส; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสรวง. รายผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2563.

กรมทางหลวง. กองวิศวกรรมจราจร. สถิติอุบัติเหตุจราจร. กรุงเทพฯ: กรม; 2560.

กรมทางหลวง. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. ข้อมูลสถิติภูมิศาสตร์สารสนเทศด้านการขนส่งและจราจร [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.otp.go.th/th/index.php/statistic.html

Kronprasert N, Sutheerakul C. Effect of automated speed enforcement systems on driving behavior and attitudes on mountainous roads in Thailand. International Journal of Geomate. 2020;18(68):164-71.

Safarpour H, Zavareh DK, Mohammadi R. The common road safety approaches:A scoping review and thematic analysis. Chinese Journal of Traumatology. 2020;23(2):113-21.

รัถยานภิศ พละศึก, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ดลปภัฎ ทรงเลิศ. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):211-23.

วิไลวรรณ บัวชุม. ประสิทธิผลการจัดการความปลอดภัยทางถนนตามยุทธศาสตร์ 5E เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนของสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2559.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall; 1981.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล, หทัยกาญจน์ การกะสัง. โครงการการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2564.

มาเรียม นิลพันธ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2533.

สมบูรณ์ แนวมั่น. รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2563;18(1):40-51.

สมบูรณ์ จิตต์พิมาย. ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(1):237-55.

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, ลักขณา ไทยเครือ, อรชร อัฐทวีลาภ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(4):580-92.

ถนอมศักดิ์ บุญสู่, อรรณพ สนธิไชย, ปณิตา ครองยุทธ. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(3):309-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-28 — Updated on 2022-03-28

Versions