การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, เครื่องมือแพทย์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและประเมินผลการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ภายในโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นสหวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องในการใช้งานเครื่องมือแพทย์ จำนวน 40 คน การดำเนินงานประกอบด้วยขั้นเตรียมการ ดำเนินการและประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังดำเนินการ 3 เดือน โดยใช้แบบทดสอบความรู้และการปฏิบัติของทีมสหวิชาชีพที่มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ paired t-test และ % difference
ผลการวิจัย : หลังการพัฒนาทีมสหวิชาชีพมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์มากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนมากกว่า 0.50 คะแนน (95%CI ; 0.25,0.75) ด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ พบว่า หลังการพัฒนาทีมสหวิชาชีพมีการปฏิบัติในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์มากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีการปฏิบัติมากกว่า 1.87 คะแนน (95%CI ; 0.78,2.97) ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์ ความแตกต่างกันเพิ่มขึ้น (20.57%) และความพร้อมใช้งานของเครื่องมือแพทย์ประจำจุดบริการแตกต่างกันเพิ่มขึ้น (8.22%) โดยภาพรวมร้อยละความแตกต่างของประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้น (13.94%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้เกิดระบบการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และนำไปใช้ได้จริง
References
โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง. งานเครื่องมือแพทย์. รายงานการใช้เครื่องมือแพทย์. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองวิศวกรรมการแพทย์สาธารณสุข. คู่มือการจัดการศูนย์เครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล ฉบับปี 2562. ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสซิ่ง; 2561.
ศศิธร เรืองประเสริฐกุล และพรสวรรค์ โควบุตร. ผลของการปรับปรุงคุณภาพการอัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ต่อการเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการในการบริการของงานจ่ายกลางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(2):186-94.
ยุวดี พัฒนวงศ์. การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้เครื่องมือแพทย์หลังออกสู่ตลาดในประเทศไทย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561;14(1):69-85.
สมจิตร์ ตั้งเสริมวงศ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศ อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555.
Womack JP, Jones DT. Lean Thinking Banish Waste and Create Wealth in Your Corporation. 2nd ed. New York: Simon & Schuster; 2003.
มาลัย สงฆ์ประสิทธิ์. ประสิทธิผลของการจัดการบุคลากรทางการพยาบาลของหน่วยจ่ายกลางในการปฏิบัติงาน โดยการจัดการแบบลีนในโรงพยาบาลระดับตดิยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-28 (2)
- 2022-03-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง