การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่การปฏิบัติของเครือข่ายสุขภาพ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
กระบวนการเรียนรู้, การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ, เครือข่ายสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างและประเมินผลกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่การปฏิบัติในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดศรีสะเกษ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานแผนยุทธศาสตร์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จำนวน 79 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสภาพปัญหา แบบประเมินความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ และแบบรายงานผลการประเมินปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ percentage difference
ผลการวิจัย : สภาพปัญหาการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ =1.97,= 0.24) กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการนำยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) การค้นหาและเรียนรู้ปัญหาร่วมกัน (2) การตั้งคำถามและการไตร่ตรองครุ่นคิด (3) การเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา (4) การดำเนินการ และ (5) การควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผล โดยกระบวนการเรียนรู้ฯ มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (µ= 4.13,= 0.83) และผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 78.38
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้การนำยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่การปฏิบัติบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้นี้ไปดำเนินการในหน่วยงาน
References
ณิชาภา ยนจอหอ, นงลักษณ์ จินตนาดิลก, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. ความสัมพันธ์ระหว่างการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติกับผลการดำเนินงานขององค์กรการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;12(2):127-35.
Kaplan RS, Norton DP. The Office of Strategy Management. Harvard Business Review. 2005;83(10):72-80.
Daft RL. Management. 9th ed. Mason: South-Western Cengage Learning; 2008.
Conveney M, Ganster D, Hartlen B, King D. The Strategic gap : Leveraging technology to Execute winning strategies. United States: John Wiley & Sons; 2003.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กอง; 2561.
เกริกยศ ชลายนเดชะ. การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 2 ม.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/upload/หน่วยที่ 9 ชุดวิชา 58708.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2563.
Kolb DA. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1984.
Knowles MS. The modern practice of adult education : From pedagogy to andragogy. New York: Cambridge The Adult Education Company; 1980.
ศักรินทร์ ชนประชา. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่ : สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.2557;25(2):13-23.
Tough A. The Adult’s Learning Projects : A Fresh Approach to Theory and Practice in Adult Learning. 2nd ed. Toronto: Ontario Institute for Studies in Education; 1979.
บุญเลิศ พิมศักดิ์, ปิติ ทั้งไพศาล, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของเครือข่ายสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562;15(2):24-32.
กาญจน์หทัย กองภา, สมิหรา จิตตลดากร. การนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา SMART HOSPITAL ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(3):152-64.
เอกชัย สุระจินดา, ดวงใจ พุทธวงศ์. ประสิทธิผลการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2559;11(2):434-50.
สุทธิชาติ เมืองปาน. การนำนโยบายคนไทยไร้พุงไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอควนโดนจังหวัดสตูล [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2558.
ชรินทร์ ห่วงมิตร, พงศ์ปณต ตองอ่อน, ฐิติภัทร จันเกษม. การประเมินผลการนำนโยบายเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำสู่การปฏิบัติในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 พ.ศ. 2560. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(1):37-48.
อัมพา อาภรณ์ทิพย์, อุษณีย์ ธรรมสุวรรณ. การนำนโยบาย ส6 สร้างสรรค์นวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2556;19(1):201-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-23 (2)
- 2022-03-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง