ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถแห่งตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • ปิยพร ศรีพนมเขต โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH)ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research: Two group pretest-posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 74 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน ศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Index Of Congruence: IOC) เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic), Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.05)กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน (p= .372) กลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง ของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน ช่วยให้การรับรู้ความสามารถแห่งตน พฤติกรรมกรรมการบริโภคอาหาร และค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยดีขึ้น และเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2561. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สุพัชรินทร์ วัฒนกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, สุปรียา ตันสกุล. โปรแกรมการเรียนรู้ในการจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2556;27(1):16-30.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไปพ.ศ.2551 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2551 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก :http://www.thaihypertension.org/2008guideline.pdf

Nutrition, Environmental. Eat to Lower Blood Pressure :Eating a low-sodium diet rich in fruits, vegetables, and grains can significantly lower your blood pressure. The newsletter of food, nutrition & health, A Healthy Spin for Comfort Food. 2012;35(12):4-7.

U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health National Heart, Lung, and Blood Institute. Your guide to lowering your blood pressure with DASH. NIH Publication No. 06-4082; 2006.

Sacks FM, Campos H. Dietary Therapy in Hypertension. The new england journal of medicine. 2010;262(22):2102-10

Craddick SR, Elmer JP, Obarzanek E, Vollmer WM, Svetkey LP, Swain MC. The DASH Diet and Blood Pressure. The New England Journal of Medicine. 2003;5:484-89.

พิชามญชุ์ ภู่เจริญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2550.

นัฐพร กกสูงเนิน. ผลของโปรแกรมการลดน้ำหนักต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการลดน้ำหนัก พฤติกรรมการลดน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบวงของหญิงก่อนวัยทอง ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

Bandura A. Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs; 1997.

ศิริวรรณ ตุรงค์เมือง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและการควบคุมโรคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

วัลยา ทองน้อย.การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางด้านสังคม ในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-11 — Updated on 2022-02-11

Versions