การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิษณุพงษ์ จตุเทน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติ, การวิเคราะห์องค์กร, ปัจจัยภายนอก, การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล 

รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา (Research and Development Design) 

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จำนวน 62 คน  ดำเนินการโดยการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ สร้างรูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์องค์กรตามหลักสากล McKinsey 7-S MODEL (2) ศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงาน และ (3) การทดลองใช้ ประเมินผล และปรับปรุง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยง เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลมีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่โดยรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนารูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนา (µ= 3.68, = 0.77) การวิเคราะห์องค์กรตามหลักสากล (µ = 3.97, = 0.74) ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (µ = 4.14, = 0.71) การขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 จุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไขร้อยละ 100 และการเผาตอซังข้าวลดลง   ร้อยละ 11.90

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพ และผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2559

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี. สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ครั้งที่ 1/2564 9 ธันวาคม 2563. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี; 2563.

K.pair. กลยุทธ 7 S คืออะไร? 7 S McKinsey Framework [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: GreedisGoods; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://greedisgoods.com/7s-%E0

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. รวมบทความวิจัย การวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์; 2543.

ดำรง วัฒนา. การจัดทำยุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

อำนวย เหมือนวงค์ธรรม. บทบาทของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมโครงการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษากรณีเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการ. 2556;24(4):36-50.

อเนก นนทะมาตย์. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

ศิวาภรณ์ เงินราง. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;2(2):108-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31