ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายและการบริโภคอาหาร ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสองห้อง

ผู้แต่ง

  • มณีวรรณ สายรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง
  • ประยงค์ ทิพมณี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง
  • จารุณี บุญคงที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง
  • วิริยา มูลพิศูจน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง
  • นพธีรา พลสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกําลังกาย, โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการออกกําลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร รอบเอว และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar: FBS) ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสองห้อง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 ระยะเวลาทดลองใช้โปรแกรม 16 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Samples t - test

ผลการวิจัย: ภายหลังการทดลอง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีค่าเฉลี่ยความยาวของรอบเอวและระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) น้อยกว่าก่อนการทดลอง (p < .001) แต่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกําลังกาย มากกว่าก่อนการทดลอง (p < .001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) คุณป้องกันครอบครัวจากโรคเบาหวานได้ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13674&gid=18

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (Inspection Guideline)[อินเทอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2561/inspec1/doc22dec/เอกสารประกอบการประชุม 22-12-2560/5.เล่มแผนตรวจราชการ ปี 61 (รวมไฟล์ทั้งเล่ม).pdf

พัชราวรรณ จันทร์เพชร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อลดผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2563;27(1):52-62.

วาสนา บุณยมณี, พัชราพร เกิดมงคล, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, อรวรรณ แก้วบุญชู. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายและการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2564]. 1740-1748. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp75.pdf

คเชนทร์ ชาญประเสริฐ. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การควบคุมค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562;1(2):133-45.

เกสราวรรณ ประดับพจน์, ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(5):148-61.

รัตนา เกียรติเผ่า. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(3):405-12.

ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(3):56-68.

วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร, ปิยะธิดา นาคะเกษียร. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2562;37(1):59-72.

อัมพร ไวยโภคา. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 2556;14(1):81-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-24 — Updated on 2022-01-24

Versions