ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชาติ บุญเยี่ยม โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี

คำสำคัญ:

Computed Tomography, ค่า CTDI, ค่า DLP, Effective Dose

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับกับระดับรังสีอ้างอิงตามคำแนะนำของหน่วยงานสากล

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) แบบไปข้างหน้า

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลพารามิเตอร์ที่ใช้ในการตรวจระยะทางการสแกนและค่าปริมาณรังสี CTDIvol และค่า DLP จากผู้ป่วยที่มาทำการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจำนวน 260 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ GE รุ่น Revolution ACT 32 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย : ค่า CTDIvol เฉลี่ยของครั้งที่ 1 เท่ากับ 90.53 mGy ครั้งที่ 2 ลดลงเท่ากับ 46.79 mGy ค่า DLP เฉลี่ย ครั้งที่ 1 เท่ากับ 976.26 mGy.cm ครั้งที่ 2 ลดลงเท่ากับ 715.56 mGy.cm และ ค่า Effective dose เฉลี่ย ในครั้งที่ 1 มีค่าเท่ากับ 2.95 mSv และครั้งที่ 2 ลดลงเท่ากับ 1.94 mSv ซึ่งค่า CTDIvol เฉลี่ย ค่า DLP เฉลี่ย และ ค่า Effective dose เฉลี่ย ครั้งที่ 1 ก่อนการศึกษามีสูงกว่าค่ามาตรฐานและค่า CTDIvol เฉลี่ย ค่า DLP เฉลี่ย และ ค่า Effective dose เฉลี่ย ครั้งที่ 2 มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานและไม่แตกต่างจากผลการศึกษาจากประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ตามค่าปริมาณรังสีในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่มีค่าสูงในบางราย เนื่องมาจากการตั้งค่า Pitch ที่น้อยและมีระยะทางการ Scan ที่ยาว

สรุปและข้อเสนอแนะ : ค่า CTDIvol เฉลี่ย ค่า DLP เฉลี่ย และ ค่า Effective dose เฉลี่ย ครั้งที่ 1 ก่อนการศึกษามีสูงกว่าค่ามาตรฐานและค่า CTDIvol เฉลี่ย ค่า DLP เฉลี่ย และ ค่า Effective dose เฉลี่ย ครั้งที่ 2 มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานของ EUR 16262 นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติงานในห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ควรหาค่าทางเทคนิคที่เหมาะสมในการตรวจผู้ป่วยตั้งแต่การเริ่มสร้างภาพบอกตำแหน่ง (Scout) โดยเลือกตั้งค่าในการตรวจที่ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพและใช้ค่าปริมาณรังสีน้อยที่สุดซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสามารถประมาณค่าปริมาณรังสีให้ทราบที่หน้าจอแสดงผลรวมทั้งควรกำหนดระยะการ Scan ภาพให้เหมาะสม ไม่กว้างเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการ Scan ซ้ำโดยไม่จำเป็น ดังนั้นก่อนทำการ Scan จึงต้องมีการวางแผนการตรวจร่วมกับรังสีแพทย์ก่อนทุกครั้ง และควรมีการจัดทำค่าอ้างอิงของประเทศไทย เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถใช้ค่าอ้างอิงนี้เปรียบเทียบได้

References

European Commission’s Radiation Protection Actions. European guidelines on quality criteria for computed tomography [Internet].[cited 2020 Jan 10]. Available from: https://www.drs.dk/guidelines/ct/quality/htmlindex.htm.

Committee 3 of the International Commission on Radiological Protection (ICRP). Diagnostic reference levels in medical imaging: review and additional advice [Internet]. ICRP; 2001 [cited 2020 Jan 10]. Available from: https://www.icrp.org/docs/DRL_for_web.pdf

International Electrotechnical Commission (IEC). Medical Electrical Equipment Part 2-44. Particular requirements for the safety of X-ray equipment for computed tomography. 2nd ed. Geneva: CENELEC; 2003.

United Nations Scienctific Communitee on the Effects of Atomic Radiation. Source and effects of ionizing radiation. UNSCEAR 2008 Report. United Nations Publication sales E.10.XI.3. NewYork: United Nations; 2010.

Fuji K, Aoyama T, Kawamura CY, Koyama S, Yamauchi M, Ko S, et al. Radiation dose evaluation in 64 slice CT examinations with adult and pediatric anthropomorphic phantoms. The British Journal of Radiology 2009;82(984):1010-18

American Association of Physicist in Medicine. AAPM Response in Regards to CT Radiation Dose and its Effects [Internet]. AAPM; 2006 [cited 2020 Jan 8]. Available from: https://w3.aapm.org/media/releases/CTDoseResponse.php

โรงพยาบาลพระพุทธบาท สระบุรี. กลุ่มงานรังสีวิทยา. สถิติผู้มารับบริการ ปี 2563. สระบุรี: โรงพยาบาล; 2563.

สุณี ล้ำเลิศเดชา. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจทั่วไปด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 MDCT ของโรงพยาบาลราชวิถี. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2553;7(2):127-38.

ภรภัทร อินพรม. การพัฒนาเทคนิคการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเพื่อลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยที่ต้องสแกนซ้ำ. กลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่; 2561.

วัฒนา วงษ์ศานนท์, จิรันธนิน เภารอด, เพชรากร หาญพานิชย์ , ปนัสดา อวิคุณประเสริฐ. การศึกษาค่าผลคูณ ปริมาณรังสีตลอดความยาวของการสแกนจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(4): 433-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30