This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care)โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นภัสภรณ์ เชิงสะอาด โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action   research)

วัสดุและวิธีการวิจัย:  ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย บุคลากรสหวิชาชีพโรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 20 คน บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 26 คน และ Caregivers จำนวน 100 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2561-พฤษภาคม 2562 รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต บันทึก และการสนทนากลุ่ม ออกแบบการวิจัยโดยใช้กระบวนการ PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart มี 4 ขั้นตอนคือ  1) การวางแผน โดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยในพื้นที่จากข้อมูลการรับการรักษาในโรงพยาบาล วางแผนการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย Service Plan 2) ลงมือปฏิบัติตามแผน จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในโรงพยาบาล สร้างเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วย ประชุมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในกลุ่ม Caregivers เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยในชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ 3) การสังเกต ในโรงพยาบาลสังเกตการมีส่วนร่วมของญาติหรือผู้ดูแล สังเกตความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วย สังเกตความพร้อมของผู้ป่วยและญาติก่อนส่งกลับสู่ชุมชน ออกเยี่ยมบ้านติดตามสังเกตความก้าวหน้าในการฟื้นฟูและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  และ 4) สะท้อนผลการปฏิบัติโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยและญาติในความต้องการการดูแลที่เหมาะสม รับฟังปัญหาผู้ป่วยแต่ละราย ติดตามความก้าวหน้าในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย: การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายส่งผลให้มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน มีการส่งต่อข้อมูลปัญหาที่ต้องติดตามในระยะเวลาที่เหมาะสม ผู้ป่วยได้รับการดูแลตาม Golden Period ได้รับการจัดสรรทรัพยากรในการดูแลที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา ญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสม และมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย จากการดำเนินงานในปี 2562 (8 เดือน) พบว่า  ร้อยละ 61.90 ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสามารถช่วยเหลือตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ร้อยละ 80.95 มีค่า Barthel Index เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.69 เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 6.35 เข้าสู่การดูแลแบบประคับประคอง และร้อยละ 3.17 ผู้ป่วยเสียชีวิต เห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยระยะกลางต้องใช้เวลาในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยตาม Golden Period ซึ่งต้องติดตามดูแลต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน

สรุปและข้อเสนอแนะ:  การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลางส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน มีความต่อเนื่อง มีการส่งต่อข้อมูลปัญหาที่ต้องติดตามในระยะเวลาที่เหมาะสม ผู้ป่วยได้รับการดูแลตาม Golden Period และญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง

References

1. คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Sub acute Rehabilitation) พ.ศ. 2558-2559 สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2559). การพัฒนางาน การดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Sub acute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข.
2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข. (2556) รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.
3. กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Guideline for Intermediate Care) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิซซิ่ง จำกัด.
4. คณะกรรมการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care: IMC). (2561). แบบรายงานผลการดำเนินงาน Intermediate Care โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอาจสามารถ.
5. วีระยุทธ ชาติตระการ. วิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 1(2) : 2558 ; 29-49.
6. Kemmis, Stephen and McTaggart, Robin. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Victoria, Australia: Deakin University.
7. เสริมศักดิ์ ยิ้มน้อย. (2558). การมีส่วนร่วม. [ออนไลน์] ได้จาก: http://coopthai9.blogspot.com/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562]
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2562). สสจ.ร้อยเอ็ด พัฒนาการใช้โปรแกรม Nemo Care เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย. [ออนไลน์] ได้จาก: http://203.157.184.6/news_info/view.php?id=4023. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562]
9. สิรินทร์ ศาสตรานุรักษ์ และคณะ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านจิตสังคมในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. สงขลานครินทร์เวชสาร. 25(1) : 2550 ; 9-17.
10. ศจีมาศ อุณหะจิรังรักษ์, สินีนาฏ ทิพย์มูสิก และเฉลิมวรรณ ปิ่นแก้ว. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรังในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีด้านสุขภาพ เครือข่ายโรงพยาบาลอินทร์บุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 21(3) : 2555 ; 1-10.
11. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. ปัจจัยสนับสนุนระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อของเครือข่ายการพยาบาลโรคหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 25(2) : 2560 ; 154-167.
12. ดารณี เทียมเพ็ชร์ และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 25(3) : 2559 ; 156-169..
13. ประหยัด พึ่งทิม และคณะ. การพัฒนารูปแบบบริการเร่งด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล. 41(3) : 2557 ; 6-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions