This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ เครือข่ายโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วัชรากร กุชโร โรงพยาบาลหนองพอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์  

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory  Action  Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย  1) หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการโรงพยาบาลหนองพอก จำนวน 277  คน 2) แพทย์ พยาบาล  สหสาขาวิชาชีพ จิตอาสาและนักพัฒนาชุมชน  หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว 5  กลุ่มๆละ 12 คน  จำนวน 60 คน และ 3) กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ จำนวน  104  คน โดยเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นนวัตกรรม VAlCHOR  MODEL และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ  แบบบันทึกการประชุมระดมความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

ผลการวิจัย: ระยะที่ 1) อัตราการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 46  วิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนในที่ประชุม ตกลงแก้ไขปัญหาโดยการสร้างรูปแบบใหม่ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ  หลักการ จุดมุ่งหมายวัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงสร้างการดำเนินงาน ใช้นวัตกรรม VAlCHOR  MODEL เงื่อนไขสู่ความสำเร็จและผลผลิต  โดยเน้นพัฒนาจิตใจ  เสริมพลังเรื่องการสนับสนุนการให้สุขภาพมารดาและทารกสุขภาพดีขึ้น ให้มีผู้รับผิดชอบข้อมูล มีการจัดบริการคลินิก เน้นเรื่องทักษะและวิธีการจัดการสุขภาพผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมาสร้างเป็นชุดกิจกรรมในรูปแบบการติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์  ระยะที่ 2) นำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้การเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ทั้ง 7 ขั้นตอน จำนวน 13 แห่ง  ระยะที่ 3) ระยะประเมินผล การประเมินทุกด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก    ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในระดับมากที่สุด  กลุ่มสาธารณสุขและกลุ่มสังคม พบว่า พึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ระยะที่ 4)  ผลการสะท้อนกลับข้อมูล ปัญหาจากการประชุมกลุ่มระดมสมอง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย พบว่า ไม่สามารถฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ได้ เนื่องจากความไม่สะดวกและวันนัดตรงกับการทำงานประจำพร้อมทั้งเป็นครรภ์แรก ไม่มั่นใจว่าตนตั้งครรภ์

สรุปและข้อเสนอแนะ:การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในพื้นที่มีการประสานเชื่อมโยงกับชุมชนทำให้ชุมชนได้ทราบถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เกิดเครือข่ายร่วมในการดำเนินงาน ทำให้สามารถค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้เพิ่มขึ้นและครอบคลุมกว่ารูปแบบเดิม ส่งผลให้จำนวนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ในปี 2562 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก เดิมร้อยละ 87.04 เป็นร้อยล่ะ 96.49  ผลงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.0

References

1. Tariku, A., Melkamu, Y., & Kebede, Z. Previous utilization of service does not improve timely booking in antenatal care: Cross sectional study on timing of antenatal care booking at public health facilities in Addis Ababa. Ethiopian Journal of Health Development. 24(3) : 2010; 226-233.
2.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561).รายงานมาตรฐานกลางจาก 43 แฟ้ม ปีงบประมาณ 2561.
กลุ่มรายงานมาตรฐาน งานส่งเสริมป้องกัน . อนามัยแม่และเด็ก ร้อยเอ็ด : โรงพยาบาลหนองพอก.
3. Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.
4. สมชาติ โตรักษา. (2557). เอกสารประกอบการเรียนรู้การพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
5. รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. สำนักพิมพ์คำสมัย, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions