This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

ผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร ในเขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ปราบนอก โรงพยาบาลเชียงขวัญ

คำสำคัญ:

ปัญหาจากการใช้ยา, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, การเยี่ยมบ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเรื้อรังและผลลัพธ์การจัดการปัญหาการใช้ยาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

วิธีดำเนินการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจงจากเกณฑ์คัดเข้าจากโรงพยาบาลเชียงขวัญ ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพในช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึงมีนาคม 2562 จำนวน 39 ราย โดยเภสัชกรค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาโดยการสอบถาม สังเกต เปรียบเทียบข้อมูลการใช้ยาจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล สมุดประจำตัวผู้ป่วย และเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา เภสัชกรบันทึกข้อมูลและวิธีการแก้ไขการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละราย การแบ่งประเภทปัญหาด้านยาใช้นิยามของ Helper และ Strand

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้านทั้งหมด 39 ราย เกิดปัญหาจากการใช้ยา 30 ราย (ร้อยละ 76.92) พบปัญหารวมทั้งหมด 84 ปัญหา ปัญหาที่พบมาก 3 อันดับแรก คือไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง 24 ปัญหา (ร้อยละ 28.57) เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 21 ปัญหา (ร้อยละ 25) และใช้ยาที่ไม่มีข้อบ่งใช้ 12 ปัญหา (ร้อยละ 14.28) เภสัชกรได้ออกแบบและจัดการปัญหาการใช้ยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย แล้วพบว่าใช้วิธีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด 113 ครั้ง เฉลี่ย 3.76 ครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย โดยพบว่าวิธีที่ใช้มากที่สุดคือการแนะนำให้นำยาเดิมมาโรงพยาบาลด้วยทุกครั้ง จำนวน 30 ครั้ง (ร้อยละ 26.55) รองลงมาคือการทบทวนการกินยากับผู้ป่วยและญาติ จำนวน 19 ครั้ง (ร้อยละ 16.81) และการให้ความรู้/คำแนะนำแก่ผู้ป่วย/ญาติเกี่ยวกับโรคและการใช้ยา จำนวน 15 ครั้ง (ร้อยละ 13.27) ผลลัพธ์จากการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาในการศึกษานี้ทั้งหมด 30 ราย พบว่าได้รับการค้นหาปัญหาและหาวิธีการแก้ไขปัญหาโดยเภสัชกรทุกราย

สรุปและข้อเสนอแนะ:  สรุปผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเภสัชกรในทีมเยี่ยมบ้านมีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาด้านการใช้ยาให้ผู้ป่วยในโรคเรื้อรังได้ อันจะส่งผลดีต่อการรักษาต่อไป

References

1. International Diabetes Federation, (2017) [online]. 2017 [cited April 8, 2019]. Available from:
https://www.diabetesatlas.org/across-the-globe.
2. กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. (2561).รายงานผลการดำเนินงานของงาน
เภสัช กรรม โรงพยาบาลเชียงขวัญ ปีงบประมาณ 2561.ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเชียงขวัญ.
3. วิภาดา ปุณณภาไพศาล และคณะ .(2560). การออกแบบระบบการจัดการยาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โดย การวิเคราะห์หาสาเหตุราก. วารสารเภสัชกรรมไทย.ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562,จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171059/122922
4. สมทรง ราชนิยม และกฤษณี สระมุณี. (2559). การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดย
เภสัชกร ครอบครัวในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย. ค้นเมื่อ 22
ตุลาคม 2562,จาก https://www.tjpp.pharmacy.psu.ac.th/wpcontent/uploads/2016/04/59-5final.pdf
5. Weerawattanachai C. (2002).Factors affecting drug related problems in diabetic inpatients at
Rajavithi hospital. [master thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University, 2002.
6. พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์.(2560). ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร ในทีม
หมอครอบครัวของเครือข่ายสุขภาพพรหมคีรี. วารสารเภสัชกรรมไทย.ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562,จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169796
7. ปัญญา อุ่ยประเสริฐ. (2547). ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่โรงพยาบาล
ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2562, จาก
https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/1/157474
8. รจเรศ หาญรินทร์. (2559). การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย , 1(1). ค้นเมื่อ
22 ตุลาคม 2562,จาก https://www.tjpp.pharmacy.psu.ac.th/wpcontent/uploads/2013/12/52-5final.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions