การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: ประชากรศึกษาเป็นผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 130 คน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอน การวิเคราะห์สถานการณ์ การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการเจ็บป่วยด้วยภาวะเสื่อมสภาพทางร่างกาย เช่น โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคข้อและกระดูก สาเหตุเกิดจากการทำงานหนักมาเป็นเวลานาน และโรคเรื้อรังคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการดำเนินกิจวัตรประจำวัน รู้สึกเหงา รู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง ภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวมทั้ง 6 ด้านดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.60
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรมแกรมฯ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2557. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองพอก. งานประเมินผล. รายงานผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2560.
Cohen JM, Uphoff NT. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University; 1981.
Walker SN. Health Promoting Lifestyle Older Adult : Comparisons with Young and Middle age Adults. Correlation and Pattern. J.Adv.Nurs.,New York;1988:76-90.
Pender NJ. Health Promotion in Nursing Practice. London: Appleton and Lange; 1996.
มะลิวรรณ อุนนาภิรักษ์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์,วรรณา คงสุริยะนาวิน, วิลาสินี เติมเศรษฐเจริญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. Journal of Nursing Science. 2555;30(2):35-45.
กรฐณธัช ปัญญาใส, จุฑามาศ กิติศรี, พิชชานาถ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;12(2): 65-74.
จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวีประเสริฐสุข, นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. การมีส่วนร่วม ของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 2558;8(3):41-54.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-15 (2)
- 2020-10-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง