ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้าน ต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้าน, พฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้านต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: ใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของกิ๊บสัน เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำใส จำนวน 15 ราย ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.0 อายุเฉลี่ย 62 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.3 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 46.7 รายได้เฉลี่ย 2,346.67 บาท/เดือน ระยะเวลาที่เป็นโรคเฉลี่ย 8 ปี มีอาการหรือโรคแทรกซ้อน ร้อยละ 33.3 ภาวะแทรกซ้อนที่พบคือ ตามัว ร้อยละ 26.7 และแผลเรื้อรัง ร้อยละ 6.6 มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 86.7 โดยพบโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 80.0 หลังการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคโดยรวม และรายด้าน ทุกด้าน สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้าน (p < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้านไม่แตกต่างกัน (p = 0.09)
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเยี่ยมบ้านที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนี้ สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการควบคุมโรคที่ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ทุกราย แต่ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังใช้โปรแกรมฯ ไม่ลดลง มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมทุกราย คืออยู่ในค่าเป้าหมายการควบคุมเบาหวานสำหรับผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ต่อไป
References
2. Pender, N.j. Health Promotion in Nursing Practice. Newyork: Appleton Cenjury Croft, 1982.
3. จีรนันท์ โพธิพฤกษ์, วศิน โพธิพฤกษ์, นฤมล เกตุกรรม และสุดารัตน์ กมลมาลย์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลใน
เลือด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2555 ฉบับที่ 6 ปีที่ 2: 47-55.
4. จุฑารัตน์ รังษา,ยุวดี รอดจากภัย และไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2559 ฉบับที่ 31 ปีที่ 6: 377-383.
5. ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์; 2549.
6. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด, 2560.
7. อโนชา ศริญญาวัจน์และสุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2552 ฉบับที่ 27 ปีที่ 2: 41-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-15 (2)
- 2020-10-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง