ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พงศ์อนันต์ จันดารัตน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม

คำสำคัญ:

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, ภาวะตกเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

รูปแบบการวิจัย:  เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์

วัสดุและวิธีการวิจัย : โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน สมุดทะเบียนห้องคลอดและห้องผ่าตัด ประชากรศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะแทรกซ้อนตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2560-2562    

ผลการวิจัย : หญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จำนวน 1,051 คน  จากการศึกษาข้อมูลในช่วงปี 2560-2562  พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับตกเลือดหลังคลอดจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่  อายุ  จำนวนครั้งของการคลอดที่ครบกำหนด ดัชนีมวลกายก่อนผ่าตัดคลอด(BMI)  ความสูงของมดลูก (HF)เซนติเมตร อายุครรภ์ (สัปดาห์) เวลาในการผ่าตัด  น้ำหนักทารกแรกเกิด (กิโลกรัม) (p =<.001, <.001, <.001,<.001, .002, <.042 และ <.001) ตามลำดับ แต่ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้แก่  Hematocrit (%)  และจำนวนการฝากครรภ์ (ครั้ง)(p =.244 และ .291)

สรุปและข้อเสนอแนะ: เมื่อพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว จึงควรปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดอย่างเคร่งครัด และเตรียมรับมือกับภาวะตกเลือดที่อาจจะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดคลอดให้พร้อม   นอกเหนือจากการคลึงมดลูกหลังการเย็บมดลูกแล้ว ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนขนาด หรือชนิดของยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกให้เร็วขึ้น   เฝ้าระวังติดตามสัญญาณชีพ ประเมินปริมาณการเสียเลือดอย่างใกล้ชิดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และตอบสนองภาวะตกเลือดอย่างรวดเร็ว

References

1.กรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข, รายงานสถิติ การผ่าตัดคลอด.นนทบุรี ; 2561.
2.ปัญญา สนั่นพานิชกุล . แนวคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง.วารสารศูนย์การศึกษา
แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2561 ; 35 ( 3) : 312-320.
3. Gregory KD, Jackson S, Korst L, Fridman M. Cesarean versus vaginal delivery: whose risks?
Whose benefits? American journal of perinatology. 2012 ; 29(1) :7-18.
4. The American College of Obstetricians and Gynecologists. Practice Bulletin No. 161
Summary: External Cephalic Version. Obstetrics & Gynecology.February 2016. 127: 412-413 .
5. World Health Organization, UNICEF. 2014 . Trends in maternal mortality: 1990 to 2 0 1 3 :
estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population
Division: Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/112682/2/9789241507
226_eng.pdf
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2557. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม . รายงานตัวชี้วัด 2562.
8. World Health Organization. WHO statement on Caesarean section rates [Internet]. 2015
[cited 2019 May 16]. Available from : http://www.who.int/reproductivehealth/publications/
maternal_perinatal_health/cs-statement/en/
9. ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย. ตำราสูตินรีเวชวิทยา . กรุงเทพฯ ; 2558.
10.รุ้งเพ็ชร สุยะเวช และวิชัย อิทธิชัยกุลฑล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตกเลือดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องวิสัญญีสาร, 2558 ; 41 (2 ) :53-63.
11.Kimberly D Gregory 1, Sherri Jackson, Lisa Korst, Moshe Fridman Cesarean Versus Vaginal
Delivery: Whose Risks? Whose Benefits?. Am J Perinatol , 2012 Jan ; 29(1):7-18.
12. วรรณา เข็มมาลัย. (2550). สถานการณ์ผ่าตัดดลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ปี พ.ศ.2550. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28