ผลการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา จังหวัดขอนแก่น
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Qua-si experimental design)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคที่มีค่าความเที่ยง (KR20) เท่กับ 0.90 และวิเคราะห์ข้อโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Paired t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และความเชื่อมั่นที่ 95% CI (95% confidence interval)
ผลการวิจัย: พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลองเพิ่มขึ้น 4.97 คะแนน (95% CI: 3.502, 6.377) และกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมกับการบริโภคอาหารโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน หลังการทดลองเพิ่มขึ้น 0.78 คะแนน (95% CI: 0.445, 1.127)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปแกรมนี้ไปใช้ต่อไป
References
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2563: 1-2.
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2561.
สำนักงานธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น, 2561: 18-20.
3.สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง.
วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559 ; 3(1) : 110-128.
4.ยลดา ศิริวัฒนเมธานนท์ และอัจฉราวรรณ โตภาคงาม. การเปรียบเทียบผลการควบคุมระดับน้ำตาล
ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามเป้าหมายการรักษา 2 รูปแบบ. ศรีนครินทร์เวชสาร
2561 ; 33(6); 511-519.
5. พรพจน์ สารทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพื่อชะลอไต
เสื่อมแบบบูรณาการ โรงพยาบาลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาล
มหาสารคาม 15(3) : กันยายน – ธันวาคม 2561; 79-84.
6. Lorig & Holman, Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History,
definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7
7. Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self management methods. In F. H. Kanfer, &
A. Goldstein (Eds.), Helping people change: A textbook of methods (305-360).
New York: Pergamon Press.
8.ศิริลักษณ์ น้อยปาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ในผู้สูงอายุที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง. บทความวิจัย เสนอในการประชุม
หาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 (715)
9.วิจิตรา แพงขะ. ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 2 - 4 ด้วยการจัดการ
รายกรณีเครือข่ายโรงพยาบาลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์
31 (3) : กรกฎาคม- กันยายน 2560 ; 405-414.
10.สุนีรัตน์ สิงห์คำ. การจัดการความรู้ เรื่อง การชะลอไตเสื่อมโดยรูปแบบ 4C Model.
วารสารวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2(3) : ตุลาคม 2560 - มีนาคม
2561;134-145.
11.ลักขณา ลี้ประเสริฐ และสุทธิณี สิทธิหล่อ. ประสิทธิผลการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย
เบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อชะลอไตเสื่อมจากโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะที่ 1-3 โรงพยาบาล
ลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. Journal of the Phrae Hospital. 24 (1-2) ; January-December
2016; 49-62
12. Knowles, M.S. (1980). The modern practice of adult education : From pedagogy to
andragogy. New York: Cambridge, The Adult Education Company.
13.ศักรินทร์ ชนประชา. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่ : สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 13(5): พฤษภาคม - สิงหาคม
2557; 13-26
14.ไพศาล ไตรสิริโชค, หลั่งพร อุตรศาสตร์ และวราทิพย์ แก่นการ. ผลของการสนับสนุนการจัดการ
ตนเองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลศูนย์
ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(6): 552-558.
15.วันวิสาข์ สนใจ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และนิสากร กรุงไกรเพชร. ผลของการจัดการตนเองต่อ
พฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ระยะที่ 2.
วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 12 (2) : กรกฎาคม – ธันวาคม 2561 ; 88-97.
16.วชิรา สุทธิธรรม, ยุวดี วิทยพันธ์ และสุรินธร กลัมพากร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถ
ในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลานสกา, วารสารสภาการพยาบาล 31(1) : มกราคม-มีนาคม 2559 ; 19-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สันักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง