รูปแบบการจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การบริโภคโซเดียมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการจัดรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,000 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายชั้นภูมิ (Muti – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.ชุดความรู้การป้องกันโรคไตเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 2. กิจกรรมกลุ่ม 5 ฐาน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่า t ( t - test )
ผลการวิจัย: หลังดำเนินการกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมเพิ่มขึ้น มีค่าความดันโลหิตในระดับปกติเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรผลักดันเป็นนโยบายทั้งจังหวัด ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเครื่องวัดความเค็มดิจิตอลแบบพกพา(Salt Meter) และควรดำเนินการวิจัยในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อเปรียบเทียบผลการวิจัยในแต่ละกลุ่ม และขยายระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมในระยะยาวและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติที่ยั่งยืน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สันักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง