ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของชาวนาในเขตเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิพล มหาอุตย์ โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนาในเขตเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวนาในเขตเทศบาลตำบลเกษตรวิสัยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเกษตรวิสัยตั้งแต่เดือนกันยายน2561-กันยายน 2562  จำนวน 65 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และและกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Univariate analysis และ Multivariate analysis

ผลการวิจัย:  หลังการอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนความเพิ่มขึ้น 5.20 คะแนน (95% CI; 4.444.5.955)  กลุ่มทดลองมีคะแนนทัศนคติเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนความเพิ่มขึ้น 0.83 คะแนน (95%   CI; 0.580,1.076)  และกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนการปฏิบัติ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนความเพิ่มขึ้น 0.83 คะแนน (95% CI; 0.629,1.023) 

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกอบรมส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ  และการปฏิบัติ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรนำไปใช้พัฒนากลุ่มเป้าหมายต่อไป

References

1. Casarette, L. J. Doull. Toxicology: the basic science of poisons. New York: Macmillar. 1975.
2. กรมวิชาการเกษตร. การศึกษาและพัฒนาวิธีวิเคราะห์วัตถุมีพิษในผลิตภัณฑ์และสารพิษตกค้าง ในผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2557 วิจัยและพัฒนาวิชาการเฉพาะด้าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2558.
3. ทวีศักดิ์ สมบูรณ์. ผลของโปรแกรมเครือข่ายป้องกันตนเองของเกษตรกรในการลดการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชกลุ่มซาโปนินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในตำบลสระนกแก้ว อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
4. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทย 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2559.
5. ทวี ลุนราช. การพัฒนาศักยภาพแกนนำสาธารณสุขประจำครอบครัวในการลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตำบลระเริง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2552.
6. ARBUCKLE, Tye E.; LIN, Zhiqiu; MERY, Leslie S. An exploratory analysis of the effect of Pesticide Exposure on the risk of spontaneous abortion in an Ontario farm population. Environmental health perspective. 2001, 109(8), 851-857.
7. Bohmont, B. L. The standard pesticide user guide. New Jersey: Prentice-Hall; 2000.
8. สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
9. โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. รายงานผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพเกษตรวิสัย.อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด; 2561.
10.นพพร บัวทอง. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.[วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2557.
11.ประกาย มิ่งไชย. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลืออำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2560; 15(1): 54-65.
12.วุฒิพล สกลเกียรติ. การเรียนรู้ผู้ใหญ่และผู้เรียนผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2546.
13.สุรินทร์ มากไมตรี. ผลของการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรของประชาชน. วารสารวิชาการนายเรืออากาศ. 2560; 13(13): 73-82.
14.เด็ดเดี่ยว วรรณชาลี. ผลของโปรแกรมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
15.ภัทรภร ฤทธิชัย. โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2562.
16. สุจิตรา ยอดจันทร์, จรรจา สันตยากร, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน และปกรณ์ ประจันบาน. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้การเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2554; 5(2): 45-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28