ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของวัณโรคปอดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารักษาที่โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, วัณโรคปอด, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของวัณโรคปอดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาขึ้นทะเบียนรับรักษาที่โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง
วัสดุและวิธีการวิจัย: ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นวัณโรคปอด ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลหนองหาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2561) จำนวน 91 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนรายงานของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานสำหรับการหาความสัมพันธ์ด้วย Chi-square test และ Fisher exact test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัย: พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 91 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาย จำนวน 47 ราย (52.7%) อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 50 ราย (54.9%) เฉลี่ย 61 ปี (SD = 11.53) ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 74 ราย (81.%) ระดับ HbA1c (%)≥ 7 จำนวน 61 ราย (67.0%) ผลการตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ (AFB Positive Sputum) จำนวน 29 ราย (68.1%) ผลเอกซเรย์ปอดไม่พบลักษณะเป็นแผลโพรงในปอด (Cavitary lesion) จำนวน 67 ราย (73.1%) และผลการตรวจเสมหะหลังการรักษา 2 เดือนไม่พบเชื้อ จำนวน 88 ราย (96.7%) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่อง เพศ อายุ และประวัติการสูบบุหรี่ ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ, ลักษณะเป็นแผลโพรงในปอด และผลการตรวจเสมหะหลังการรักษา 2 เดือน แต่พบว่า ระดับ HbA1c (%) มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.034) และไม่พบความสัมพันธ์กับการเป็นแผลโพรงในปอด และ ผลการตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะหลังจากรักษา 2 เดือน
สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นวัณโรคปอดที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี หรือมีระดับ Hb A1c > 7% มีความเสี่ยงที่จะตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ ซึ่งมีโอกาสแพร่กระจายโรคสู่ชุมชนได้ ดังนั้น การคัดกรองวัณโรคปอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงมีความสำคัญในแง่ของการลดอัตราการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนอีกด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สันักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง