การพัฒนารูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดในสถานประกอบการ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
รูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ, ผู้เสพยาเสพติด, สถานประกอบการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดและประเมินผลลัพธ์การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดในสถานประกอบการ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 30 คน ได้แก่ พนักงานลูกจ้างที่เสพยาบ้า แกนนำทูบีนัมเบอร์วัน จำนวน 10 คน ทีมสุขภาพของหน่วยบำบัด จำนวน 10 คน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ประเมินสถานการณ์ยาเสพติดและการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ ระยะ ที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูและการทดลองใช้ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ และแบบประเมิน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.61 และ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P< .05
ผลการวิจัย : พบว่า สถานการณ์ยาเสพติดในสถานประกอบการ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด มียาบ้าเข้ามาแพร่ระบาดในกลุ่มพนักงานลูกจ้าง เพศชาย อายุ 20-40 ปี ผู้เกี่ยวข้องในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ100 มีมติร่วมกันเห็นควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการบำบัดฟื้นฟู บูรณาการดำเนินงานร่วมกับโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่าประเด็นที่ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการบำบัดฟื้นฟู ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการจัดบริการเชิงรุก (2) ด้านการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ (3) ด้านโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูการบำบัดฟื้นฟูรูปแบบใหม่ เป็นการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดเชิงรุกในสถานประกอบการ โดยใช้โปรแกรมจิตสังคมบําบัดแบบประยุกต์ (Modified Matrix program) ระยะเวลาบำบัดฟื้นฟู 4 เดือน ผลการวิจัยระยะที่ 3 ด้านประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูรูปแบบใหม่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้และทัศนคติ ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อัตราการบำบัดครบตามเกณฑ์ร้อยละ 100 อัตราการหยุดเสพต่อเนื่องหลังบำบัด 2 สัปดาห์, 1,2,3,6 เดือน ร้อยละ 100 ทุกระยะ มีการกลับมาเสพซ้ำในเดือนที่ 9 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 หยุดเสพต่อเนื่องหลังบำบัดครบ 1 ปี ร้อยละ 100 และด้านความพึงพอใจต่อรูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟูอยู่ใน ระดับดี และระดับดีมาก ร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : 1.กิจกรรมบำบัดฟื้นฟูโดยใช้โปรแกรมจิตสังคมบําบัดแบบประยุกต์ ร่วมกับการใช้มาตรการทางสังคมเพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร 2. หากมีการนำรูปแบบบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดไปใช้ในสถานประกอบการควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
References
2.เอกสารการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1/2561 ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดร้อยเอ็ด.
3.จุรี จอนนุ้ย, ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ที่เข้ารับการบำบัดด้วยวิธีเม็กตริกซ์โปรแกรม (matrix program) โรงพยาบาลพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: งานสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช; 2557.
4.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์. การนำระบบ การจัดการผู้ป่วยรายกรณีมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. ขอนแก่น: พระธรรมขันต์; 2547.
5.อาภาศิริ สุวรรณานนท์. การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 2558; 11(2): 213-222.
6.กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. นนทบุรี : เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์; 2562.
7.กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือผู้ปฏิบัติงาน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบการรู้คิด-พฤติกรรมบำบัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2555.
8.นันทา ชัยพิชิตพันธ์. การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด.ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2556; 13(1): 98-108.
9.ธราเทพ โอชารส และคณะ. รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2554; 5(2): 73-85.
10.ชโลธร อัญชลีสหกร. กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา “สารภีโมเดล” อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
11.สุรีรัตน์ ปราณี. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด : กรณีศึกษาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ใน: 3rd National and International Conference on Administration and Management; 26-27 มกราคม 2560; มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี; 2560. หน้า 72-79.
12.เอกรัตน์ หามนตรี. ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด จังหวัดอ่างทอง. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์. 2561; 5(2), 434-451.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง