การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ในชุมชนตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา เวียงนนท์ โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์การเข้าถึงบริการช่องทางด่วน ของกลุ่มเสี่ยงสูงโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนตำบลบึงงาม

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนเมษายน 2563 และกลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  1 คน  เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน  6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ  

ผลการวิจัย: รูปแบบการเข้าถึงบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงในชุมชนตำบลบึงงาม ประกอบด้วยขั้นตอนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค (Training)  การประชาสัมพันธ์หลายช่องทาง (Public relation) การใช้บัตรช่วยจำ (Memory card) และ เยี่ยมบ้าน (Home visit)  หรือ TU-MIT Model   ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรหลอดเลือดสมองโดยรวมเพิ่ม (9.16%)  ความพึงพอใจของกลุ่มเสี่ยงสูงโดยรวมอยู่ในระดับมาก 75% และพบว่า กลุ่มเสี่ยงสูงป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 คน  เข้ารับบริการทันเวลาช่องทางด่วน(Fast Track)ตามเกณฑ์ จำนวน 1 คนและเข้ารับการรักษาไม่ทันเวลาช่องทางด่วน  จำนวน 1  คน 

สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการเข้าถึงบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน

References

1.World Health Organization. Prevention of Cardiovascular Disease : guideline for Assessment and Management of total Cardiovascular risk. Geneva. 2014.
2.สำนักโรคไม่ติดต่อ รายงานประจำปี .(2555). จำนวนและอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองใหญ่
ปี 2552-2555.ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562.
3.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติสุขภาพผู้ป่วยใน. 2555.
4.หัสยาพร มะโน. การรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลลองจังหวัดแพร่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
5.ตวงทิพย์ บินไทยสงค์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามาถึงโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการของ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. [วิทยานิพนธ์].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติสุขภาพผู้ป่วยใน. 2554.
7.สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. คู่มือความรู้ เรื่อง อัมพาตสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.
8.นันทวรรณ ทิพยเนตร, วชิร ชนะบุตร.(2559). ความรู้เรื่องความเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง:
กรณีศึกษาโรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม. สาขาเวชกิจฉุกเฉินคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
9.กีรณานันท์ สนธิธรรม. การพัฒนากิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงก่อนความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
10.สุริยา หล้าก่ำ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง. [วิทยานิพนธ์].
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคามว 2560.
11.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2555.
[เอกสารอัด สำเนา]. ร้อยเอ็ด: สำนักงาน. 2556.
12.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองร้อยเอ็ด. รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่ออำเภอเมืองร้อยเอ็ด
ปี 2556. [เอกสารอัดสำเนา]. ร้อยเอ็ด: สำนักงาน. 2557.
13.Kemmis,S.&Mc Taggart,M.(1992).The Action research Planner. [Internet]. [cited 2014 March 2]. Available from: http://academia.uat.edu.mx/pariente/DO/Lecturas/The%20action%20research%20 planner.pdf
14.สงบ บุญทองโท, นิสากร วิบูลชัย, องุ่น บุตรบ้านเขวา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2560; 14 (3): 100-113.
15.รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล, นิสากร วิบูลชัย,วิไลพร พิณนาดิเลย์,จุลินทร ศรีโพนทันและเบญจพร เองวานิช,
การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใต้บริบทของ
โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560; 27(2):
80-95.
16.พรทิพย์ อัคนิจ และประมวลรัตน์ พจนา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงาน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวาริชภูมิ
จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561; 21(1): 99-112.
17.อรทัย มานะธุระ. ผลการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่อง อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
และการเข้าถึงระบบบริการทางด่วนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2562; 13(32): 206-222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28