การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตที่หน่วยบริการใกล้บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • บุษบา บัวผัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบผู้ป่วยไต, การรับรู้พฤติกรรมเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อพัฒนารูปแบบ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะของไต และประสิทธิผลการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตที่หน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ

รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย:การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยไต ใช้หลัก PDCA โดยก่อนการดำเนินงาน มีการสำรวจและศึกษาสภาวะสุขภาพ คัดเลือกผู้ป่วยไตระยะที่ 1-3  P คือ การวางแผน ออกแบบวิธี ทีมหมอครอบครัว PCC (Primary care team) D คือ การดำเนินตามแผน โดยแบ่ง 3 ระยะ ระยะที่ 1 การประเมินการรับรู้ พฤติกรรม การตรวจสุขภาพ และการให้ความรู้เรื่องโรค อาหาร การออกกำลังกาย ระยะที่ 2 จัดกิจกรรมภายใต้บริบทของพื้นที่ที่เลือกรูปแบบเอง เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมห้องครัว  ตรวจดูเมนูอาหารที่รับประทาน การจัดทัวร์สุขภาพไต ระยะที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแจ้งผลการดูแลสุขภาพ C คือ การประเมินติดตามผล ข้อมูลสุขภาพ,ประเมินการรับรู้ และพฤติกรรมเสี่ยง A คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา โดยใช้ข้อมูลที่ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนประสบกาณ์และกลวิธีการของทีมสุขภาพ โดยทั้ง 3 ระยะนำกระบวนการ PDCA มาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ผลการวิจัย:ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 74.2% อายุระหว่าง 60-69 ปี 33.4% อายุเฉลี่ย 64.7 สถานภาพสมรสคู่ 73.5% จบการศึกษาประถมศึกษา 69.0% ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 70.4% รายได้น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน 90.6% มีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 30.9% ภาวะโภชนาการเกิน 40.1% เป็นผู้ป่วยระยะที่ 3 80.9% ระดับความรู้น้อย 59.7% พฤติกรรมเสี่ยงน้อย 90.8% ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะของไต คือ รายได้ สถานภาพสมรส ประวัติการเป็นโรคประจำตัว ดัชนีมวลกาย ระดับความเสี่ยงของพฤติกรรมรายได้ และระดับการรับรู้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P=.021, .003, .003, .001, .001, .001 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคไต พฤติกรรมเสี่ยง และอัตราการกรองของไต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยไตที่หน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ กลุ่มเป้าหมายควรคัดเลือกเป็นกลุ่มผู้ป่วยไตระยะที่ 3 ทำเป็น 3 ระยะ ต่อเนื่องกัน กิจกรรมทำเป็น 5 ขั้นตอน คือ การสำรวจสภาวะสุขภาพ วางแผน พัฒนาศักยภาพ ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล ยึดหลัก PDCA

References

1.อมร เปรมกมล .อีสานรวมมิตรระบาดวิทยาและการควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต].ขอนแก่น: คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://ckd.kku.ac.th/?page_id=2
2. Yamane, Taro.1973.Statistics: An Introductory Analysis.Third editio. Newyork : Harper and.
Row Publication. Yoder, Dale and others 1955.
3. Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,. 16(3), 297-334. Daniel, W.W. (1995)
4.พงษ์เดช สารการ. ชีวสถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
5.อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
6.กิตติมา เศรษฐ์บุญสร้าง และประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยไตวาย
เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4: 485-503.
7.กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา; 2556.
8. Powell S K. (2002). Case Management : Practical Guide for Education and Practice Philadephia: Lippincott-Raven.
9.วริยา เสนาฮาด.(2561). การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. ใน: ประชุมมหกรรมวิชาการสาธารณสุข สำนักงานมหาสารคาม; วันที่ 22-23 มีนาคม 2561; ณ โรงแรมตักสิลา. มหาสารคาม; 2561.
10.ประภารัตน์ ประยูรพรหม, จุฑารัตน์ บางแสง, สมควร พิรุณทอง, อภิญญา สัตย์ธรรม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล. 2559; 43:11-33.
11.ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ แบบเข้มข้นต่อความรู้และพฤติกรรมการจำกัดน้ำของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม . สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2557.
12.เบญมาส เรืองดิษฐ์. เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์ และชูลินดา สะมะแอ. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเอง
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3:194-207.
13.กนกพรรณ พนมแก่น และ หิรัญญา แสงอรุณ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับไว้ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ.2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28