การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สมหมาย โคตรสีเขียว เครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองฮี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, เครือข่ายสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนา และศึกษาผลลัพธ์แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองฮี  

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยและพัฒนา

วัสดุและวิธีการวิจัย: ผู้ร่วมการพัฒนาและกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ทีมพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ จำนวน 5 คน  ทีมผู้ปฏิบัติ  จำนวน 8 คน และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองฮี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561- เมษายน 2562 จำนวน 10 ราย  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Univariate analysis

ผลการวิจัย: แนวปฏิบัติทางการพยาบาลประกอบด้วย 1) การประเมินคัดกรองอาการ (1-5 นาที) 2) ผู้ป่วยได้รับการดูแลเบื้องต้นและได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ (6-10 นาที) 3) ส่งต่อผู้ป่วย ลงบันทึกในแบบส่งต่อ STEMI  Fast Tract (11-30 นาที)  และ 4) แบบบันทึกทางการพยาบาล  ผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติ-ทางการพยาบาล  จากผู้ป่วยทั้งหมด  จำนวน 5 คน ได้รับการประเมินระดับความรุนแรง(GCS มีคะแนนที่ 13-15 คะแนน) (100%)  ได้รับการดูแลแบบช่องทางด่วน จำนวน 2 คน (40%)  ส่งต่อ (100%) และวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้ายเป็น STEMI  จำนวน 2 คน(40%),  NSTEMI จำนวน 2 คน (40%) และ Dyspepsia จำนวน 1 คน (20%)  

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดกำกับด้วยเวลา (time)ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและส่งได้ทันเวลา

References

1.โรงพยาบาลหนองฮี. สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี พ.ศ.2561.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ โรงพยาบาลหนองฮี. 2561.
2. Parsons, M. W., Barber, A., Desmond, P. M., Baird, T. A., Darby, D. G., Bymes, G., et al.
Acute hyperglycemia adversely affects stroke outcome: A magnetic resonance imaging and
spectroscopy study. Annals of Neurology. 2002; 52: 20-28.
3. Adam, H. P., Jr del Zoppo, G., Alberts, M. J., Furlan, A., Higashida, R. T., Kidwell, C., et al.
Guidelines for the Early Management of Adults With Ischemic Stroke A Guideline From
the American Heart association association. The American Academy of Neurology affirms
the value of this guideline as an education tool for neurologists.2007; 4(1-5): 478-492.
4. Wester, P., Radberg, J., Lundgren, B., et al. Factors associated with delayed admission to hospital
and in-hospital outcomes in stroke and TIA: a prospective, multicenter study. Stroke,
30,1999: 40-8.
5. SouKup, M. The Center for advance nursing practice evidence base practice model.
Nursing Clinics of North American. 2000; 35(2): 301-9.
6. ฉวีวรรณ ธงชัย และพิกุล นันทชัยพันธ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล. 2548; 20(2): 63-74.
7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย,
2550.
8. Johanna Briggs Institute. Systemic review: The review process [Electronic version].
Retrieved from http://www johannabrigs.edu.au/pubs/approach. php. 2019.
9. ลักขณา ผ่องพุทธ. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลนภาลัย
โดยการใช้แนวคิดของการจัดการความรู้. [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.
10. Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.,
1977.
11.วราภรณ์ สิงห์ศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. [การศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
12.กันยา อ้อยลี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
13.ศิริวรรณ กฤษณพันธ์. พัฒนาระบบการวางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้พยาบาลผู้จัดการรายกรณี ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2551; 5(1): 756-65.
14.จำเนียร คูห์สุวรรณ, วนิดา หาญคุณากุล, และ ศศิธร ศิริกุล. การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์; 2-4 มิถุนายน 2553; ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ; 2553.
15.จิตติมา ภูริทัตกุล. การดูแลแบบช่องทางด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาล
พุทธชินราชพิษณุโลก. ใน:ประชุมการพัฒนาเครือข่ายโรคหัวใจ; 13 มกราคม 2552; ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น. ขอนแก่น; 2552.
16. Considine J. & McGillivry B. An evidence – based practice approach to improve nursing care of acute stroke in an Australian Emergency Department. Journal of Clinical Nursing. 2010; 19: 138-144.
17. Utah Department of Health. Acute Stroke Care in Utah Hospitals: Progress and Opportunities,Salt Lake City, UT: Utah Department of Health, 2007.
18. ไพรวัลย์ พรมที. การพัฒนาระบบช่องทางด่วนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้รูปแบบ
การจัดการ รายกรณี โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557; 23(2): 313.
19. อุมา จันทวิเศษ และคณะ. การศึกษาผลลัพธ์การใช้แผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ
และอุดตันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551; 27(2): 118-128.

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28