ผลการดูแลผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจากโรงพยาบาลโพนทรายสู่เครือข่ายชุมชน

ผู้แต่ง

  • ภัสนี สวนงาม โรงพยาบาลโพนทราย

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, เครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มารับบริการของโรงพยาบาลโพนทรายและเครือข่ายชุมชน

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัย Cross-sectional  Study

วัสดุและวิธีการวิจัย:  โดยการเก็บข้อมูล  ณ  จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2561- มีนาคม 2562 เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและหาความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1)แบบประเมินผลการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (PPS) 2) แบบประเมินอาการรบกวนการเจ็บป่วย 9 อาการ(ESAS) 3)แบบประเมินการเสียชีวิตอย่างสง่างาม(Good  death)และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (60%)  อายุมากกว่า 70 ปี (50%)มีการรักษาตามอาการ(65 %) รักษาด้วยเคมีบำบัด (25%) และรักษาด้วยรังสีร้อยละ (10%) ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้รับการดูแลตามเกณฑ์ประเมินอาการรบกวนเจ็บป่วย 9 อาการ (ESAS)มีระดับอาการรบกวนลดลงหลังจากได้รับการบรรเทาอาการรบกวน(100%)ที่พบมากคือ อาการปวด  อาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย  อาการหายใจเหนื่อยหอบ  ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเสียชีวิตอย่างสงบและสง่างาม (Good death) (100 %)การประเมินผลลัพธ์ทาง Humanized care พบผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจต่อการดูแล(96%)  เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อการทำงานร่วมกัน(88%) ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้รับการบรรเทาอาการปวด(95%)ผลลัพธ์ทาง Economic ผู้ป่วยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องมาโรงพยาบาล (100%) โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพมีระบบส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจากโรงพยาบาลโพนทรายสู่เครือข่ายชุมชน

สรุปและข้อเสนอแนะ :การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลโพนทรายสู่เครือข่ายชุมชนมีการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายครอบคลุมทั้งเครือข่ายช่วยสนับสนุนให้ทีมสามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมมากขึ้นเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ให้บริการ,ผู้ป่วยและผู้ดูแล ดังนั้นควรกำหนดเป็นนโยบายการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายครอบคลุมทั้งเครือข่ายและนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้กับผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายกลุ่มอื่นๆต่อไป

References

1.World Health Organization. WHO definition of palliative care. In : National cancer Control programs: Policies and managerial guidelines.2nded.WHO.Genava:2002.
2.สาวิตรี มณีพงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอายุรกรรมแผนกการพยาบาลอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์.[รายงานการศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
3.ทัศนีย์ ทองประทีบ. เสียงสะท้อนจากพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารเกื้อการุณย์.
2547; 11(2), 36-46.
4.ไพรินทร์ สมบัติ,อารีย์ วรปรางกุล.ความหมายของคำว่าตายดี:การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว: 2548.
5.นงค์รักษ์ สัจจานิจการ.ผลการดูแลผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจากโรงพยาบาลสู่เครือข่ายชุมชน.โรงพยาบาลท่าวังผา: 2555.
6.พิมพ์พนิต ภาศรีและคณะ. ความต้องการการช่วยเหลือของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558; 35(2), 79-89.
7.ภัคพร กอบพึ่งตน,จินตนา จรัญเต,ดรุณี ดลรัตนภัทร,อรศิลป์ ชื่นกุล,และดรุณี ส่องแสง. คุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2551; 26, 47-55.
8. Bee,P.Barnes,P.,&Luker,K.A.A systematic review of informal caregivers'needs in Providing home-based end –of-life care to people with cancer.Journal of Clinical Nursing, 18(10), 1379-93.
9.ยุวนิดา อารามรมย์,กิตติกร นิลมานัต,และพัชรียา ไชยลังกา.ประสบการณ์ของครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตและใกล้ตาย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2552; 32, 33-43.
10.สุมานี ศรีกำเนิด, รัชนี นามจันทรา, กนกพร นทีธนสมบัติ. การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2552; 10(1): 59-67.
11.อุปทิน รุ่งอุทัยศิริ.การพัฒนาต้นแบบระบบการดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550; 2(5): 1021-30.
12.อรัญญา ไพรวัลย์.ความต้องการของผู้ดูแลด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน.[วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28