ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิติมา นิลผาย โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, สตรีตั้งครรภ์, ความชุก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง

วัสดุและวิธีการวิจัย:  เก็บข้อมูลสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 934 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและโปรแกรม Hosxp. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยวและการวิเคราะห์พหุถดถอยโลจีสติกส์  โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value <.05

ผลการวิจัย: พบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด มีความชุกของภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.16 (95% CI: 19.24-25.40) พบความชุกมากในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุในช่วง 20-25 ปี พบว่าส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการปกติ (19.8-26.0 กก/เมตร2 ) ร้อยละ 92.3 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อายุ 20-25 ปี (AOR=0.65  95% CI 0.44 to 0.98) มีประวัติเกี่ยวกับโรคเลือด (AOR=8.24  95% CI: 3.04 to 22.37) อายุครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกมากกว่าหรือเท่ากับ 14 สัปดาห์ (AOR=3.21  95% CI: 2.71 to 5.36)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้พบภาวะโลหิตจางยังคงเป็นปัญหาหลักของสตรีตั้งครรภ์โดยพบว่าอายุ ประวัติเกี่ยวกับโรคเลือดและมารดาที่มีอายุครรภ์ครั้งแรกมากกว่าหรือเท่ากับ 14 สัปดาห์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง

References

1. World Health Organization. Report of the UNICEF/WHO regional consultation: Prevention and control of iron deficiency anemia in woman and children. Geneva; World Health Organization. 1999.
2. Encyclopedia of the Nation. Prevalence of anemia among pregnant women (%) – health nutrition and population statistics. 2009.
3. โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. ข้อมูลรายงานเฉพาะกิจโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. 2554.
4. วิชัย ตันไพจิตร. โรคคอพอกจากการขาดสารไอโอดีน. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 9. 2550.
5. อุ่นใจ กออนันตกุล, อานุภาพ เลขะกุล. โรคเลือดระหว่างตั้งครรภ์. ใน: อุ่นใจ ก่ออนันตกุล, บรรณาธิการ. การตั้งครรภ์เสี่ยงสูง: High risk pregnancy. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2549. 431-450.
6. อุษา รัตนพันธ์, บุญแสง บุญอำนวยกิจ, ประวิทย์ ชัยกองเกียรติ, ภาวินี โภคสินจำรูญ. การศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลการป้องกันภาวะ โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิชาการเขต 12. 2550; 18(1): 87-93.
7. American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG). ACOG practice bulletin number 95: Anemia in pregnancy. Obstetrics and Gynecology. 2008; 112: 201-7.
8. รายิน อโรร่า, ชยันตธ์ธร ปทุมานนท์, ชไมพร ทวิชศรี. ภาวะโลหิตจางในสตรีที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลลำปาง: ความชุก สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง. ลำปางเวชสาร. 2552; 30(1): 28-36.
9. Hsieh, Y.F., Bloch, A. D., & Larsen, D. M. A simple method of sample size calculation for Linear and logistic regression. Statistics in Medicine. 1998; 17: 1623-34.
10. ผ่องศรี แสนไชยสุริยา , ศรีนวล แก้วมโน, อุษา ธูสรานนท์, สุนันทา ตวงศิริทรัพย์, เสาวนิตย์ สวัสดี, สุวิมล สำราญภูมิ, และคนอื่ๆ. การศึกษาความชุกของการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของมารดาที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2552; 15(2): 108-114.
11. ชบาไพร สุขกาย, จิราพร เขียวอยู่. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2555; 27(2): 133-138.
12. ณรงชัย ผิวคำศรีเรืองบุญ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มีฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2555; 5(2): 145-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28