ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะภูมิไวเกินจากการได้ รับยาเคมีบำบัด แผนกผู้ป่วยนอกหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศิรินทรา โคตะโน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็ง, ยาเคมีบำบัด, ภาวะภูมิไวเกิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะภูมิไวเกินจากการได้รับยาเคมีบำบัดให้ปฏิบัติการพยาบาลได้ตามมาตรฐาน รวดเร็ว ปลอดภัย และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากภาวะไม่พึงประสงค์ของยาเคมีบำบัด

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย: มีวิธีการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะ HSR จากการได้รับยาเคมีบำบัด 2) นำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะ HSR จากการได้รับยาเคมีบำบัดไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3) การประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะ HSR จากการได้รับยาเคมีบำบัด 4) สรุปผลการนำไปใช้งานจริงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงกันยายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ ได้แก่ แบบประเมินการเกิดภาวะ HSR และแบบบันทึกการจัดการและประเมินผลลัพธ์ของการจัดการอาการ HSR การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ

ผลการวิจัย: 1) สถานการณ์ภาวะ HSR ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเกิดร้อยละ 2.65 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบจากปี 2559 และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดภาวะ HSR ในการให้ยา Cycle ที่ 1 ร้อยละ 20 เกิดในการให้ยา Cycle ที่ 2 ร้อยละ 33.33 Cycle ที่ 3 ร้อยละ 26.67 และเกิดในการให้ยา Cycle ที่ 4 ร้อยละ 20 ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นระดับ 1 – 2 ร้อยละ 93.33 และระดับ 3 ร้อยละ 6.67 ไม่มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะ HSR รุนแรงระดับ 4 ที่เป็น Anaphylactic  2) ผู้ป่วยร้อยละ 100 ปลอดภัยจากภาวะ HSR  3) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะ HSR จากการได้รับยาเคมีบำบัดที่เป็นมาตรฐานนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน

สรุป: การมีแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะ HSR ที่ชัดเจนสามารถป้องกัน และลดความรุนแรงของการเกิดภาวะ HSR จากการได้รับยาเคมีบำบัดได้

References

1.World Health Organization. Report of Mortality. Geneva: WHO. 2015.
2.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559.
นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. 2559.
3.ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลร้อยเอ็ด สรุปสถิติผู้ป่วยมะเร็งที่มารับบริการปี พ.ศ. 2557 – 2559.
4.Kelly, K., John, F. R., & Kirby, I., (2015). Chapter 17: The Breast. In Charles, F., Dena, K.,
Thmothy, R., David, L., John, G., Jeffrey, B., et al. (Eds.), Schwartz’s Principles of Surgery. (p. 497 - 564). 9th ed. USA: McGraw-Hill Education.
5.ณัฐวุธ สิบหมู่. เภสัชวิทยา เนื้อหาสำคัญและแบบฝึกหัด (Phamacology: principles and
exercises). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2559.
6.Banerji, A., Lax, T., Guyer, A., Hurwitz, S., Camargo, C. A. & Long, A. A. Management of Hypersensitivity Reactions to Carboplatin and Placlitaxel in an Outpatient Oncology Infusion Center: A 5-Year Review. J Allergy Clin Immunol Pract. 2014; 2(4): 428 - 433.
7.โกสินทร์ วิระษร. ภาวะฉุกเฉินทางมะเร็งวิทยาที่พบบ่อย. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558; 30(2): 200 - 11.
8.Berger, M.J., Dunlea, L.J., Rettig, A.E., Lustberg, M.B., Phillips, G.S. & Shapiro, C.L. Feasibility of stopping paclitaxel premedication after two doses in patients not experiencing a previous infusion hypersensitivity reaction. Support Care Cancer. 2012; 20: 1991-7.
9.Joerger, M. Prevention and handling of acute allergic and infusion reactions in oncology. Annals of Oncology. 2012; 23(10): x313 - x9.
10.อัจฉราภรณ์ ม่วงมุลตรี. การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรแท็กเซน. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.
11.สายฝน เตวิชัย. ระบาดวิทยาของการเกิดภาวะภูมิไวเกินจากการใช้ยา paclitaxel ในโรงพยาบาลมะเร็งลําปาง ปี 2556 - 2558. จุลสาร โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560]; 22(62): 8. เข้าถึงได้จาก: http:// http://www.lpch.go.th/lpch/uploads/20161031090121957314.pdf
12.อรอมล มารีหวล, กชชุกร หว่างนุ่ม, เจษฎา มณีชวงจร และสุดสวาท เลาหวินิจ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะภูมิไวเกินในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel. วารสารกรมการแพทย์. 2559; 41(4): 105 – 117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28