การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนา, แนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรอง, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
วัสดุและวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดหลักการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของชูคัพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพจำนวน 16 คน และผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเมยวดีมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกคือกลุ่มอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทั้งที่มาด้วยอาการที่เด่นชัดและมาด้วยอาการที่ไม่เด่นชัด ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย: พบว่าภายหลังการพัฒนาผ่านกระบวนการ 2 วงรอบได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบว่าผู้ป่วยที่มาด้วยกลุ่มอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้รับการประเมินและคัดกรองเพิ่มขึ้นจาก 78% เป็น 97.6% ระยะเวลาเฉลี่ยในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและรายงานแพทย์ภายใน 10 นาที (Door to EKG) ลดลงจากเฉลี่ย 8 นาที(SD=0.56)เป็น 5.5 นาทีต่อราย (SD=0.55)ระยะเวลารอคอยการได้รับยาละลายลิ่มเลือด (Door to needle time) ลดลงจากเฉลี่ย 33 นาที (SD=4.85)เป็น 22 นาทีต่อราย(SD=1.83) ไม่พบจำนวนอุบัติการณ์การวินิจฉัยโรคผิด/ล่าช้า (Missed / Delayed diagnosis) และอัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 0 และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
สรุปและข้อเสนอแนะ: แนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้จริงและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ข้อเสนอแนะ แนวปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปปรับใช้ในโรงพยาบาลชุมชนให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล
References
2.สุรีย์ กรองทอง, ศศิธร กระจายกลาง, นงลักษณ์ สุรศร, สุนันญา พรมตวง. พัฒนารูปแบบบริการทางด่วนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 33(1): 45-60.
3.อรอนงค์ ช่วยณรงค์, ดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บแน่น-แน่นหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.2561; 36(3): 187-96.
4.นิยดา อกนิษฐ์ ,สุชาตา วิภกานต์ ,สภาณี สิทธิสาร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โรงพยาบาลกระบี่. วารสารกองการพยาบาล. 2556; 40(3): 85-99.
5.เรวดี สมทรัพย์ ,จุฑามาส ประจันพล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMIที่ได้รับยา Streptokinase โรงพยาบาลในเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ดเวชสาร; 2561; 4(2): 25-33.
6.สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 2554; 29(1): 22-30.
7.Soukup, S.M. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinics of North America 2000 : 35 : 301-9.
8.เกรียงศักดิ์ กิจเพิ่มเกียรติ ,จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์, สุกัญญา สระแสง. การพัฒนาแนวทางการดูแลและการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในบริบทโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3) โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี. ใน: ประชุมวิชาการ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (MOPH R2R Forum) ประจำปีงบประมาณ 2561 R2R to Future Health Care; วันที่ 12-14 กันยายน 2561; ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2561. หน้า 37-9.
9.สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุงปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด ; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-03 (2)
- 2020-02-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง