ผลการใช้เทคนิค 5A, 5D, 5R และ STAR ที่มีผลต่อการลดอัตราการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการที่คลินิกของโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปัญจา ชมภูธวัช โรงพยาบาลหนองพอก

คำสำคัญ:

เทคนิค 5A, 5D, 5R และ STAR, สูบบุหรี่, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ เทคนิค 5A,  5D, 5R, และ STAR  ในการลดอัตราการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืดและถุงลมโป่งพอง  ที่มารับบริการที่คลินิกของโรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด  ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 31 สิงหาคม  2563  รูปแบบการวิจัยเป็นกึ่งทดลอง    แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 คน รวมทั้งหมด 42 คน โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าและการคัดออก  กลุ่มทดลองได้รับการใช้เทคนิค 5A,  5D, 5R, และ STAR  ส่วนกลุ่มควบคุมใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาและการให้บริการตามปกติรูปแบบเดิม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Paired samples t-test และ Independent t – test    

ผลการวิจัยพบว่า: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (90.5%) ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อายุเฉลี่ย 53 ปี ในกลุ่มทดลอง  และ 49 ปีในกลุ่มควบคุม  สถานภาพสมรสแล้วอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาระดับประถมศึกษา (90.5%) อาชีพส่วนใหญ่ทำนา  (71.2%)  มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 57.1 ในกลุ่มทดลองและโรคความดันโลหิตสูง (33.33%) ในกลุ่มควบคุม ผลการประเมินการติดบุหรี่หลังการศึกษา พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของการติดบุหรี่ลดลง แต่ในกลุ่มทดลองจะมีค่าคะแนนลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม  เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนลดลงมากว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน เท่ากับ 1.57 คะแนน และมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.003  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %  และกลุ่มทดลองสามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลดลง (42%) (9 คน) มากกว่ากลุ่มควบคุมลดลง (9.5%) (2 คน) 

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดการสูบบุหรี่ได้ จึงควรมีการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยการกำหนดให้มีแนวทางปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปคลินิกอดบุหรี่ในหน่วยงาน และจัดกิจกรรมเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เลิกสูบบุหรี่และผู้สูบบุหรี่ เมื่อผู้ป่วยลดบุหรี่ได้จะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้

References

World Health Organization (WHO) global report on trends in prevalence of tobacco smoking. 2015.

ครรชิต หนากลาง. การศึกษาการใช้กระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ [การศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

สุกัญญา คำก้อน, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุรินธร กลัมพากร, สุคนธา ศิริ. โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้มาสูบซ้ำของทหารกองประจำการในค่ายกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล 2563; 1 :44-53.

ผ่องศรี ศรีมรกต, จรรยา ใจหนุน, ปุณยนุช สนามทอง, ยุพิน หงส์ทอง, ประทีป แสวงดี, อรสา อัครวัชรางกูร. ประสิทธิภาพของการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาล 2556; 1: 32-43.

รัชนี ระดา, ปัญจา ชมภูธวัช. การใช้กระบวนการ 5A ในการลดอัตราการสูบบุหรี่ของคนงานโรงงานเฟอร์นิเจอร์โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เขตพื้นที่ตำบลรอบเมือง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด; 2561.

อรอนงค์ ส่งทวน. ผลของการช่วยเหลือเพื่อการเลิกบุหรี่ร่วมกับการผ่อนคลายด้วยวิธีหายใจแบบลึกต่ออาการขาดนิโคตินความอยากบุหรี่และการกลับมาสูบบุหรี่ซ้ำในผู้ป่วยศัลยกรรม [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

รายงานการสำรวจบริโภคยาสูบปี 2552 [อินเตอร์เนต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.ashthailand.or.th/content_attachment/file_storage/files.pdf

ชนิดา รำขวัญ, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์, อรสา พันธ์ภักดี. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วารสารโรคหัวใจและทรวงอก 2559; 2: 2-16.

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร ปี 2560 [อินเตอร์เนต].2561[เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.ashthailand.or.th/content_attachment/file_storage/files.pdf

________. สถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561 [อินเตอร์เนต].2563.[เข้าถึงเมื่อ22 กันยายน 2563]เข้าถึงได้จาก http://www.trc.or.th/th/

ศิรภัสสร กุลศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่ของผู้ที่เข้ารับบริการในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลนารายณ์มหาราชจังหวัดลพบุรี. [สารนิพนธ์]. กรงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2560.

________. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ [อินเตอร์เนต]. 2563 . [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2563 ] เข้าถึงได้จาก http://www.ashthailand.or.th/th/data_center_page.php.

________. โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลกปี [อินเตอร์เนต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก http://www.ashthailand.or.th/content_attachment/file_storage/files.pdf

อรพินท์ ขันแข็ง. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังชาย จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2562; 2: 160-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01